Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

สัญญาณเตือน ผู้สูงอายุในบ้านเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

31-01-2023 09:23

ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันที่หลายบ้าน มักจะแยกตัวออกมาจากพ่อแม่ แล้วสร้างครอบครัวใหม่ จึงละเลยที่จะดูแลใส่ใจผู้สูงอายุ จนกลายเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นโรคซึมเศร้า

ภาพประกอบเคส

ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันที่หลายบ้าน มักจะแยกตัวออกมาจากพ่อแม่ แล้วสร้างครอบครัวใหม่ จึงละเลยที่จะดูแลใส่ใจผู้สูงอายุ จนกลายเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นโรคซึมเศร้า

ผู้สูงอายุ เป็นบุคคลกลุ่มที่มีความอ่อนไหวทางอารมณ์สูงพอสมควร ต้องการความดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างมากขึ้น แต่เมื่อถูกละเลยส่งผลให้เกิดความเครียดทางอารมณ์ จนเกิดความผิดปกติแล้วส่งผลต่อพฤติกรรม ความคิด เบื่อหน่ายการใช้ชีวิต ไม่นอน ไม่ออกกำลังกาย ไม่ทำกิจกรรม ไม่รับประทานยาตามสั่ง

ดังนั้นลูกหลานจึงจำเป็นต้องหันมาใส่ใจดูแลบุคคลกลุ่มนี้เป็นพิเศษ และควรสังเกตผู้สูงอายุ ในบ้านว่ามี สัญญาณดังต่อไปนี้หรือไม่

  1. มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หงุดหงิดง่าย น้อยใจง่าย มีความวิตกกังวลสูงขึ้นมาก
  2. มีอาการทางร่างกายมากกว่าเดิม เช่น อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง นอนไม่หลับ
  3. มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น นิ่งเฉย ไม่ค่อยพูด

หากพบว่าผู้สูงอายุมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องครบทั้ง 3 อาการ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

แนวทางการรักษา

  1. การทานยาต้านเศร้า หากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวอยู่ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง เนื่องจากการทานยารักษาโรคประจำตัวอื่นๆ อาจทำปฏิกิริยากับยาต้านเศร้าได้ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุจะค่อนข้างใช้เวลาในการออกฤทธิ์มากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่นๆ โดยอาจใช้เวลามากกว่า 1 เดือน
  2. ปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม และเพิ่มกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ โดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากขึ้น
  3. รักษาโรคประจำตัวของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น สำหรับรายที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว แต่ยังควบคุมได้ไม่ค่อยดี อาจต้องพิจารณาให้ยาหรือการรักษาที่ช่วยให้อาการของโรคสงบได้ดีขึ้น จะช่วยให้การรักษาโรคซึมเศร้าได้ผลดีขึ้นด้วย

ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ได้แก่

  1. ผู้สูงอายุที่อยู่ห่างไกลจากครอบครัว
  2. ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคพาร์กินสัน
  3. ผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น เกษียณจากงาน สูญเสียคนในครอบครัว
  4. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 85 ปีขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุต้องอาศัยความใส่ใจของคนในครอบครัว หมั่นสังเกตและตระหนักถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ถือเป็นด่านแรกของการนำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็ว

ที่มา: pptvhd36 https://bit.ly/3wIfgXW


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท