Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

31-01-2023 08:59

กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพในวัยทำงานซึ่งพบอัตราป่วยที่สูงทุกปี ที่พบบ่อยในวัยทำงานคือ อาการปวดหลังระดับล่าง การอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ และกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด

ภาพประกอบเคส

กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพในวัยทำงานซึ่งพบอัตราป่วยที่สูงทุกปี ที่พบบ่อยในวัยทำงานคือ อาการปวดหลังระดับล่าง การอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ และกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด

ลักษณะของการเกิดโรคหรือการบาดเจ็บ เกิดได้ 2 ลักษณะคือ
1) เกิดจากอุบัติเหตุหรืออันตรายโดยตรงต่ออวัยวะ เกิดการบาดเจ็บทันที เช่น โดนบีบอัด กระแทกที่มือหรือปวดหลังโดยฉับพลันหลังก้มหยิบจับของ
2) การบาดเจ็บสะสม มักจะเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีปัจจัยเสี่ยงทางกายศาสตร์ เช่น ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ก้มๆ เงยๆ ทำงานในระดับไหล่หรือสูงกว่า เอื้อมตัวหยิบของ บิดข้อมือ ทำท่าทางซ้ำๆ หรือยกของหนักตลอดเวลา เป็นต้น

โดยจะมีอาการปวดในบริเวณหลังของลำตัวตั้งแต่ระดับคอลงไปจนถึงก้นกบ อาการปวดหลังส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบริเวณบั้นเอวถึงก้นกบ เรียกว่าปวดหลังส่วนล่าง

งานที่เสี่ยงหรืออาชีพที่เสี่ยง
งานที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้แก่ การยกของที่ไม่เหมาะสม อาชีพที่จำต้องก้ม หรือบิดเอวซ้ำๆเป็นเวลานาน เช่น อาชีพที่นั่งทำงานกับพื้นเป็นประจำ อาชีพขับรถประจำทาง รถบรรทุก ขับแท็กซี่ เกษตรกร ประมง อาชีพทำงานนั่งโต๊ะ เช่น เสมียน นักบัญชี พนักงานพิมพ์ งานหัตถกรรม ตัดเย็บเสื้อผ้า แม่ครัว ช่างยนต์ ช่างซ่อมเครื่องจักร พนักงานขนของ ลักษณะการทำงานอาจเป็นสาเหตุของการปวดหลังเรื้อรังได้

อาการ แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

1) กลุ่มอาการปวดหลังเฉียบพลัน เกิดจากการก้มยกของ หรือการบิดเอวที่ผิดจังหวะ อาการปวดกระจายอยู่บริเวณแผ่นเอวเบื้องล่าง หรือบริเวณแก้มก้นอาจร้าวไปทั่วบริเวณต้นขา และหัวเข่า พบว่าร้อยละ 80-90 อาการจะดีขึ้นจนเป็นปกติภายใน 2-3 สัปดาห์
2) กลุ่มอาการปวดร้าวไปที่ขา คล้ายกับกลุ่มแรก แต่มีอาการปวดร้าวไปที่ขาบริเวณน่องและปลายเท้า
3) กลุ่มอาการปวดล้าบริเวณน่อง ขณะเดินและผู้ป่วยต้องหยุดเดินหลังจากเดินได้ระยะทางหนึ่ง โรคกลุ่มนี้มักเกิดจากการตีบแคบของโพรงรากประสาท ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ

การป้องกัน เพื่อดูแลตนเอง
หากท่านมีอาการปวดหลังโดยมีสาเหตุจากการทำงาน และมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย ท่านสามารถแก้ปัญหาปวดหลังด้วยตนเอง โดยหลีกเลี่ยงและป้องกันโดยปฏิบัติดังนี้
1) ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน และหลีกเลี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม
2) การออกกำลังกาย จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เป็นทางเลือกหนึ่งในการลดอาการปวดหลัง และสามารถทำได้ด้วยตนเอง ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายได้

ที่มา : ระบบเฝ้าระวังสุขภาพด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
https://bit.ly/3WEi2Iw


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท