Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

5 เคล็ดลับ บริหารเงิน "อาชีพอิสระ"


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

31-01-2023 08:21

“Freelance” อาชีพยอดฮิตของคนยุคนี้ ข้อดีอยู่ที่คำว่า “Free” (อิสระ) ที่ช่างดึงดูดใจชวนให้ใครต่อใครอยากเข้ามาครอบครอง แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดีที่ดึงดูด และข้อด้อยที่ต้องคอยระวัง ในสายงานอาชีพอิสระก็เช่นกัน “รายได้ที่มากขึ้น” มักแลกมากับ “ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น” วันนี้ว่าจ้าง วันรุ่งขึ้นเลิกจ้าง ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะ “อิสระ” มีอยู่ทั้งในมุมของตัวเราที่เป็นคนเลือกงานและผู้ว่าจ้างก็มี “อิสระ” ในการเลือกว่าจ้างคนทำงานเช่นกัน

ภาพประกอบเคส

“Freelance” อาชีพยอดฮิตของคนยุคนี้ ข้อดีอยู่ที่คำว่า “Free” (อิสระ) ที่ช่างดึงดูดใจชวนให้ใครต่อใครอยากเข้ามาครอบครอง แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดีที่ดึงดูด และข้อด้อยที่ต้องคอยระวัง ในสายงานอาชีพอิสระก็เช่นกัน “รายได้ที่มากขึ้น” มักแลกมากับ “ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น” วันนี้ว่าจ้าง วันรุ่งขึ้นเลิกจ้าง ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะ “อิสระ” มีอยู่ทั้งในมุมของตัวเราที่เป็นคนเลือกงานและผู้ว่าจ้างก็มี “อิสระ” ในการเลือกว่าจ้างคนทำงานเช่นกัน

แต่สิ่งที่สำคัญของ "อาชีพอิสระ" ก็คือ “การบริหารเงิน” ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ “มนุษย์เงินเดือน”โดยมีเคล็ดลับ 5 ข้อที่ ผู้ที่มี “อาชีพอิสระ” สามารถนำไปปรับใช้ได้กับการบริหารเงินของตนเอง ได้แก่

1. “เงินสด” สำคัญที่สุด
รายได้ของบรรดา Freelance แตกต่างกับมนุษย์เงินเดือน ตรงที่ “ไม่มีวันเงินเดือนออก (ที่แน่นอน)” บางครั้งเสร็จงานปุ๊บ รับเงินปั๊บ แต่ก็มีไม่น้อยที่ทำงานเสร็จแล้วยังไม่ได้เงิน ต้องรอรอบบัญชีบ้าง รอสิ้นเดือนบ้าง รอจ่ายทีเดียวบ้าง แต่ต้นทุนชีวิต และต้นทุนการทำงาน หมุนไปแทบทุกวัน ดังนั้น จึงต้องมี “เงินสด” ไว้ให้อุ่นใจเสมอ ง่ายที่สุดก็คือการเก็บไว้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น ถ้ามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท ก็ควรจะต้องมีเงินสดไว้ในบัญชีออมทรัพย์ประมาณ 60,000 บาท ให้อุ่นใจ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้ไม่ต้องกังวล

2. อย่าลืมทำ “ประกันสุขภาพ”
“ทำงาน - ได้เงิน, ไม่ทำงาน- ไม่ได้เงิน” นิยามที่ชัดที่สุดของอาชีพอิสระ ดังนั้น “สุขภาพกายที่แข็งแรง” จึงเป็นสิ่งสำคัญ Freelance ยังไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลจากต้นสังกัดเหมือนมนุษย์เงินเดือนเพราะฉะนั้นหากป่วย ลา มาสาย เท่ากับขาดหรืออาจเสียเครดิตก็เป็นได้ ดังนั้น “ประกันสุขภาพ” จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่เป็นนายตัวเองทั้งหลาย เพราะหากเจ็บป่วยรายได้ที่หามาอาจไม่พอเยียวยาให้ตัวเองหายดี และหากเป็นประกันส่วนที่ “ชดเชยรายได้” ให้ด้วย ก็จะมีการชดเชยรายได้ให้เท่ากับจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล และส่วนเพิ่มเช่นนี้มักมีเบี้ยประกันที่ไม่สูงนัก

3. แบ่งเงินให้ชัด แล้วใช้ให้เกลี้ยง
ไม่ว่าจะเป็นคนอาชีพไหน สิ่งที่ควรทำก็คือ “งบประมาณรายจ่าย” อาจแบ่งเงินเป็น 4 ส่วน ของรายได้แบบง่ายๆ คือ
- ส่วนที่ 1: ให้เงินทำงาน (นำไปต่อยอด เงินต่อเงิน)
- ส่วนที่ 2: ค่าใช้จ่ายประจำวัน (ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ฯลฯ)
- ส่วนที่ 3: เงินฉุกเฉิน (เสริมสภาพคล่อง)
- ส่วนที่ 4: จิปาถะ (ท่องเที่ยว เสริมความรู้ หนังสือ ฯลฯ)
หากเรามัวแต่เก็บทั้งหมดเพื่ออนาคต ก็อาจจะทำให้เราไม่ได้สัมผัสกับความสุขในปัจจุบัน แต่อย่าลืมว่าต้อง “แบ่งให้ชัด” ก่อน ถึงจะ “ใช้ (ที่เหลือ) ให้เกลี้ยง” ไม่ใช่เอาแต่ใช้จนสุดท้ายไม่มีเหลือ!

4. ให้เงินทำงาน ไม่ใช่เอาแต่ “ใช้แรงทำเงิน”
“สิ่งที่แน่นอนที่สุดในชีวิตของ Freelance คือความไม่แน่นอน” ดังนั้นนอกเหนือจากการเสียหยาดเหงื่อ แรงกาย พลังใจ และมันสมอง ของเราไปกับการทำงานแล้ว อย่าลืมนำ “เงิน” ที่เราต้องทุ่มเทให้ได้มันมาไป “ทำงานต่อ” ด้วยการลงทุน ให้เกิดดอกผลจากการที่เรา “ให้เงินทำงาน”

วิธีการก็แสนง่าย แค่นำเงินที่เราแบ่งเอาไว้ (ส่วนที่ 1 ) ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เราถนัด อาจเป็นหุ้น อสังหาฯ เพชร ทองคำ ฯลฯ หรือถ้าไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ก็ให้มืออาชีพบริหารให้ผ่าน “กองทุนรวม” ก็ได้เช่นกัน

5. ทำทุกอย่างให้ง่าย และเป็นอัตโนมัติ
การลงทุนที่เสี่ยงที่สุดคือ “การลงทุนในเวลา” เพราะใช้แล้วหมดเลย ไม่มีวันหวนกลับมาให้เราแก้ไขสิ่งใด (บางครั้งหุ้นที่ว่าเสี่ยง ร่วงหนักๆ ยังกลับมาเป็นบวกได้) ซึ่งเวลาของ Freelance เป็นเงินเป็นทองจริงๆ ดังนั้นอะไรที่ช่วยลดขั้นตอนการทำธุรกรรมทางการเงินได้ ทำซะ! ทั้งธนาคารออนไลน์ ลงทุนแบบอัตโนมัติ (ตัดบัญชีรายเดือน) ฯลฯ แล้วเอาเวลาที่เข้าคิวเรียกชื่อในธนาคารพาณิชย์ ไปเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนาตัวเอง

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://www2.set.or.th/set/financialplanning/knowledgedetail.do?contentId=1361


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท