Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ฮอร์โมนสำหรับหญิงข้ามเพศ


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

31-01-2023 08:06

คำว่า หญิงข้ามเพศ ( Transgender women) เป็นที่คุ้นหูของคนไทยโดยทั่วไป นอกเหนือจากคำเรียกแบบเดิม เช่น สาวประเภทสอง สาวสอง กะเทย ทั้งนี้คำว่าหญิงข้ามเพศ ในความหมายทางสังคมวิทยาเป็นคำเรียกผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นผู้ชายแต่ต้องการเปลี่ยนเพศสภาพของตนให้เป็นเพศตรงข้าม ซึ่งก็คือเพศหญิง (MTF หรือ Male to female transformation) โดยที่บุคคลนั้นจะยังไม่แปลง หรือแปลงเพศไปแล้วก็ได้ คนที่ยังไม่แปลงเพศก็ยังถืออัตลักษณ์และเพศสภาพของตนให้ดูเหมือนผู้หญิงโดยถือว่ายังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศ

ภาพประกอบเคส

คำว่า หญิงข้ามเพศ ( Transgender women) เป็นที่คุ้นหูของคนไทยโดยทั่วไป นอกเหนือจากคำเรียกแบบเดิม เช่น สาวประเภทสอง สาวสอง กะเทย ทั้งนี้คำว่าหญิงข้ามเพศ ในความหมายทางสังคมวิทยาเป็นคำเรียกผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นผู้ชายแต่ต้องการเปลี่ยนเพศสภาพของตนให้เป็นเพศตรงข้าม ซึ่งก็คือเพศหญิง (MTF หรือ Male to female transformation) โดยที่บุคคลนั้นจะยังไม่แปลง หรือแปลงเพศไปแล้วก็ได้ คนที่ยังไม่แปลงเพศก็ยังถืออัตลักษณ์และเพศสภาพของตนให้ดูเหมือนผู้หญิงโดยถือว่ายังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศ

การเปลี่ยนจากชายเป็นหญิงของกลุ่มสาวประเภทสองหรือหญิงข้ามเพศมักอาศัย ฮอร์โมน เป็นตัวช่วย ซึ่งมีความจำเป็นมากที่จะเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพให้เข้าใกล้ความเป็นหญิงมากที่สุด ฮอร์โมน ในที่นี้คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ปกติในร่างกายคนเรา ไม่ว่าทั้งหญิงและชาย มีทั้งฮอร์โมนเพศหญิง และฮอร์โมนเพศชายในคนคนเดียว

หลักการของ MTF ที่จะทำให้สาวประเภทสองหรือหญิงข้ามเพศมีความเป็นหญิงมากขึ้นก็คือ เสริมฮอร์โมนเพศหญิง และลดฮอร์โมนเพศชายลง ซึ่งต้องมีแพทย์เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนเพศโดยความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากแต่ในอดีตถึงปัจจุบันหญิงข้ามเพศหลายคนยังใช้ฮอร์โมนอย่างไม่ถูกวิธี ได้รับความรู้จากการถ่ายทอดจากหญิงข้ามเพศรุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนฝูง ที่เป็นแบบพูดปากต่อปาก ซึ่งไม่ได้มีงานวิจัยหรือองค์ความรู้ที่เป็นหลักการทางคลินิกมารองรับ ทำให้เกิดผลข้างเคียงและผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและชีวิตประจำวัน

หลักการใช้ฮอร์โมนในการข้ามเพศ

การเปลี่ยนสภาพร่างกายให้เข้าสู่ความเป็นผู้หญิง จำเป็นต้องอาศัย ฮอร์โมนเพศ ที่ร่างกายรับจากภายนอก จากรูปแบบยาเตรียมที่หลากหลายได้แก่ ยาเม็ด ยาทา แผ่นแปะผิวหนัง สเปรย์ และยาฉีด บางตำรับไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากผลข้างเคียงของส่วนประกอบหลักทำให้เกิดภาวะผิดปกติของร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่

  1. เอสโตรเจน (Estrogen) การเสริม Estrogen เข้าร่างกาย ควรคำนึงถึงผลข้างเคียง ในระยะสั้นอาจยังไม่เห็นผลชัดเจน แต่ระยะยาว อาจเกิดภาวะผิดปกติแก่ร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดดำอุดตัน/ลิ่มเลือดที่ปอด มะเร็งเต้านม ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สูงรุนแรง (ควรระวังการใช้เอสโตรเจนชนิดรับประทาน) และการทำงานของตับหรือไตผิดปกติ
  2. โปรเจสเตอโรน (Progesterone) บางคนเชื่อว่าทำให้เต้านมมีการพัฒนาคล้ายธรรมชาติ บางการวิจัยพบว่าผลต่อเต้านม ยังไม่ชัดเจน การใช้โปรเจสเตอโรนในหญิงวัยทอง พบมะเร็งเต้านมสูงขึ้นโดยเฉพาะ การใช้ร่วมกับเอสโตรเจน หลาย guideline ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะอาจทำให้เกิดหลอดเลือดดำอุดตัน เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเพิ่มขึ้น มีภาวะซึมเศร้า มีน้ำหนักเพิ่ม และไขมันในเลือดสูง
  3. กลุ่มต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-Androgen hormones) กลไกสำคัญในการข้ามเพศของสาวประเภทสองคือ การเพิ่มฮอร์โมนหญิง และลดฮอร์โมนชาย โดยปกติแล้ว เมื่อเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงเพียงอย่างเดียว ในระยะยาว ร่างกายจะมีกลไกกดการสร้างฮอร์โมนเพศชายให้ลดลงเอง หญิงข้ามเพศที่มีรูปร่าง หรือผิวละเอียด มีขนน้อย อาจเพียงแค่เสริมฮอร์โมนเพศหญิง และไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชายก็ได้ แต่บางรายที่ร่างกายมีความเป็นผู้ชายมาก หรือบางรายที่ไม่พึงพอใจในรูปร่าง ก็สามารถใช้ยาต้านฮอร์โมนในระยะหนึ่งจนพอใจ ทั้งนี้ต้องให้แพทย์คอยติดตาม การใช้ยาควรคำนึงถึง วัย และภาวะโรคภัยด้วย

ที่มา : สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
http://www.rsat.info/hormone


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท