Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง จากการใส่ส้นสูง


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

27-01-2023 10:46

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Bunion) หรือ (Hallux Valgus) คือ ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงชิดเข้าหานิ้วชี้ กระดูกหัวแม่เท้าด้านในจึงปูดบวมขึ้น ต่อมาข้อนิ้วหัวแม่เท้าจะมีปุ่มลักษณะกลมนูนออกมาทางด้านข้างหัวแม่เท้า ซึ่งปุ่มที่นูนออกมานี้จะทำให้มีอาการปวด ใส่รองเท้าลำบาก มักจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูง ปลายรองเท้าแคบ และพบมากเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนมากจะพบที่เท้าทั้ง 2 ข้างมากกว่าพบที่เท้าข้างเดียว

ภาพประกอบเคส

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Bunion) หรือ (Hallux Valgus) คือ ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงชิดเข้าหานิ้วชี้ กระดูกหัวแม่เท้าด้านในจึงปูดบวมขึ้น ต่อมาข้อนิ้วหัวแม่เท้าจะมีปุ่มลักษณะกลมนูนออกมาทางด้านข้างหัวแม่เท้า ซึ่งปุ่มที่นูนออกมานี้จะทำให้มีอาการปวด ใส่รองเท้าลำบาก มักจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูง ปลายรองเท้าแคบ และพบมากเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนมากจะพบที่เท้าทั้ง 2 ข้างมากกว่าพบที่เท้าข้างเดียว

ปัจจัยกระตุ้นการเกิดภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
เกิดจากการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ เช่น รองเท้าส้นสูง รองเท้าหัวแหลม รองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป การรักษามีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การรักษาเบื้องต้น ตั้งแต่พบอาการเริ่มแรก ไปจนถึงการผ่าตัดในผู้ที่มีอาการรุนแรง

การรักษาเบื้องต้น

  • เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม
  • ใส่รองเท้าขนาดพอดี ไม่คับ
  • หัวรองเท้ากว้าง (wide toe box) เมื่อสวมใส่แล้วสามารถขยับนิ้วเท้าได้ไม่บีบรัดนิ้วเท้า
  • พื้นรองเท้านุ่ม
  • ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่มีหัวส่วนปลายที่แหลมและส้นรองเท้าสูงมากกว่า 2 นิ้ว

การรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค มีทั้งการผ่าตัดแต่งกระดูก (osteotomy) การผ่าตัดเชื่อมกระดูกเท้า (Arthrodesis) โดยแพทย์มักแนะนำในผู้ที่มีนิ้วหัวแม่เท้าผิดรูปอย่างรุนแรง หลังการผ่าตัดการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่เท้าจะทำได้น้อยลง และไม่สามารถใส่รองเท้าส้นสูงได้

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3WoPrH2


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท