Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การอบไอน้ำสมุนไพร


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

27-01-2023 10:32

การอบไอน้ำสมุนไพร คือ การนำสมุนไพรสดหรือแห้งหลาย ๆ ชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมหรือมีน้ำมันหอมระเหยมาต้มกับน้ำเพื่อให้เกิดไอน้ำและความร้อนขึ้นภายในห้องหรือกระโจมที่ใช้อบตัว เพื่อเป็นการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายจากการเจ็บป่วย

ภาพประกอบเคส

การอบไอน้ำสมุนไพร คือ การนำสมุนไพรสดหรือแห้งหลาย ๆ ชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมหรือมีน้ำมันหอมระเหยมาต้มกับน้ำเพื่อให้เกิดไอน้ำและความร้อนขึ้นภายในห้องหรือกระโจมที่ใช้อบตัว เพื่อเป็นการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายจากการเจ็บป่วย

ประโยชน์ของการอบไอน้ำสมุนไพร

  1. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมให้ดีขึ้น
  2. บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  3. บรรเทาอาการคัดจมูกในผู้ที่เป็นหวัด โรคภูมิแพ้อากาศ หรือโรคหอบหืดที่ไม่รุนแรง
  4. ช่วยเปิดรูขุมขนและขับเหงื่อ
  5. ช่วยขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอด

ข้อห้ามในการอบไอน้ำสมุนไพร

  • มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส
  • มีอาการอ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร
  • หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ไม่เกิน 30 นาที
  • ผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น วัณโรค
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคหอบหืดระยะรุนแรง โรคไตชนิดรุนแรง โรคหัวใจ มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ที่มีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน
  • ผู้ที่มีบาดแผลเปิด มีการอักเสบของบาดแผล หรือโรคติดเชื้อทางผิวหนัง
  • หญิงขณะมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์
  • ผู้ที่แพ้สมุนไพร หรือแพ้ความร้อน

ข้อควรระวังในการอบไอน้ำสมุนไพร

  • ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 หรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท มีความเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติ ต้องสังเกตอาการและดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ไม่ควรอบนานเกิน 30 นาที จะทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่ทางเหงื่อ ส่งผลให้อ่อนเพลียและอาจเป็นลมได้
  • ในขณะอบไอน้ำสมุนไพร หากมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ควรหยุดทันที

สามารถอบไอน้ำสมุนไพรได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละราย กรณีการฟื้นฟูหญิงหลังคลอดอาจมีการอบไอน้ำสมุนไพรติดต่อกันได้ตามดุลพินิจของแพทย์ เมื่อสิ้นสุดการอบไอน้ำแล้วให้ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนการสูญเสียเหงื่อ

ที่มา : สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3WwziiS


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท