Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคตาบอดกลางคืน (Night Blindness)


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

27-01-2023 10:28

โรคตาบอดกลางคืน (Night Blindness) คือ ปัญหาการมองไม่ชัดเจนในที่มืดที่มีแสงสลัวหรือเวลากลางคืน โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เป็นความผิดปกติของจอประสาทตาบริเวณขอบๆ โดยมีการทำลายหรือสูญเสียหน้าที่ หรือมีการตายของเซลล์รูปแท่ง (ROD) ที่อยู่บริเวณขอบจอตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามัวเวลากลางคืน หรือเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสลัว ซึ่งทำให้เกิดอาการตาบอดกลางคืนได้

ภาพประกอบเคส

โรคตาบอดกลางคืน (Night Blindness) คือ ปัญหาการมองไม่ชัดเจนในที่มืดที่มีแสงสลัวหรือเวลากลางคืน โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เป็นความผิดปกติของจอประสาทตาบริเวณขอบๆ โดยมีการทำลายหรือสูญเสียหน้าที่ หรือมีการตายของเซลล์รูปแท่ง (ROD) ที่อยู่บริเวณขอบจอตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามัวเวลากลางคืน หรือเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสลัว ซึ่งทำให้เกิดอาการตาบอดกลางคืนได้

สาเหตุของโรคตาบอดกลางคืน

  • การขาดวิตามินเอ หรือขาดธาตุสังกะสี ที่ทำงานร่วมกันในส่วนช่วยการมองเห็น
  • ปัญหาทางสายตา เช่น ภาวะสายตาสั้นมาก โรคต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา
  • ความผิดปกติที่จอตา ความบกพร่องทางพันธุกรรม มักพบในกลุ่มที่มีอาการจอตาเสื่อมชนิด RP
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มโคลิเนอร์จิก เอเจนท์

ลักษณะอาการผู้ที่มีอาการตาบอดกลางคืน จะพบปัญหาการมองในสถานที่ที่มีแสงสลัว หรือที่มีแสงสว่างน้อย โดยมักจะเกิดอาการขณะที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนการมองจากที่ที่มีแสงสว่างมาก ไปยังที่แสงสลัว เช่น การเดินจากภายนอกอาคารเข้ามาในตัวอาคารการเข้าชมภาพยนตร์ หรือการขับรถตอนกลางคืนที่มีแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ

หากโรครุนแรงมากขึ้น จะเริ่มสูญเสียลานสายตาและการปรับการมองเห็นในที่มืด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่พบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ หากในครอบครัวมีผู้เป็นโรคตาบอดตอนกลางคืนควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจรักษา และชะลอความเสื่อมที่เกิดขึ้นให้ช้าลง

การป้องกันและชะลอความเสื่อม สามารถทำได้โดย

  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี
  • หากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที

ข้อควรระวัง

โรคตาบอดตอนกลางคืนจะมีปัญหาการมองเห็นในที่มืด ถือเป็นอาการสำคัญของโรคที่อาจทำให้มีความเสี่ยงเรื่องการขับรถในเวลากลางคืน ควรหลีกเลี่ยงการขับรถในเวลากลางคืนหรือแสงน้อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/184970


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท