พ่อแม่รับมืออย่างไร เมื่อลูกพูดช้า
หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
27-01-2023 10:13
ภาวะพูดข้า (Delayed speech) หมายถึง ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการด้านการแสดงออกทางภาษา โดยเฉพาะการพูดสื่อสารล่าช้าไม่สมวัย ซึ่งอาจมีพัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาปกติหรือล่าช้าร่วมด้วย เช่น เด็กอายุ 18 เดือน พูดคำที่มีความหมายไม่ถึง 3 คำ หรือเด็กอายุ 2 ปี พูดคำที่มีความหมายไม่ถึง 50 คำ หรือพูดคำ 2 คำต่อกันไม่ได้ เช่น “กินนม” “ไปเที่ยว” เป็นต้น
ภาวะพูดข้า (Delayed speech) หมายถึง ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการด้านการแสดงออกทางภาษา โดยเฉพาะการพูดสื่อสารล่าช้าไม่สมวัย ซึ่งอาจมีพัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาปกติหรือล่าช้าร่วมด้วย เช่น เด็กอายุ 18 เดือน พูดคำที่มีความหมายไม่ถึง 3 คำ หรือเด็กอายุ 2 ปี พูดคำที่มีความหมายไม่ถึง 50 คำ หรือพูดคำ 2 คำต่อกันไม่ได้ เช่น “กินนม” “ไปเที่ยว” เป็นต้น
พฤติกรรมเสี่ยงทำลูกพูดช้า
- เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว
- ไม่มีเวลาทำกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัยร่วมกับลูก ปล่อยให้เด็กเล่นเอง ทำให้ลูกมีคลังคำศัพท์น้อย
- ตอบสนองลูกก่อนที่ลูกจะพูดสื่อสารความต้องการด้วยตนเอง
- พูดสื่อสารด้วยประโยคที่ยาวเกินพัฒนาการของเด็กหรือพูดเร็วเกินไป
ปรับพฤติกรรมส่งเสริมลูกให้พูดได้สมวัย
- พยายาม ใช้คำสั้น ๆ กระชับ เข้าใจง่าย
- งดใช้สื่อผ่านหน้าจอต่าง ๆ ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี แม้จะเปิดทิ้งไว้โดยที่เด็กไม่ได้ตั้งใจดูก็ตาม
- ในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป อาจดูสื่อสร้างสรรค์ผ่านหน้าจอและพูดคุยกับพ่อแม่ไปพร้อมกัน แต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
- ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับลูกอย่างสม่ำเสมอ เช่น เล่านิทาน พูดคุย ร้องเพลง ทำกิจวัตรประจำวัน โอบกอด เป็นต้น
หากกระตุ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วไม่ได้ผล ควรพบแพทย์เพื่อประเมินสาเหตุ เช่น พันธุกรรม ภาวะออทิสติก โรคทางระบบประสาท การได้ยินบกพร่อง ฯลฯ ต่อไป
ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3ZSAUGm