Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การครอบฟัน การบูรณะฟัน...สร้างความมั่นใจ


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

30-11-2022 13:48

การครอบฟัน คือ การบูรณะฟันที่ได้รับความเสียหายจากฟันผุ ฟันแตกหัก ฟันสึก หรือฟันที่ได้ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้ว ส่วนใหญ่มักมีความเสียหายจนไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟัน ซึ่งการครอบฟันนอกจากจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร ยังช่วยในการปรับเรียงตัวของฟัน ปรับสีฟันและรูปร่างฟันที่ไม่สวยงาม ช่วยให้ฟันเรียงตัวและมีสีฟันสวยงาม สร้างความมั่นใจทำให้มีรอยยิ้มที่มั่นใจยิ่งขึ้น

ภาพประกอบเคส

การครอบฟัน คือ การบูรณะฟันที่ได้รับความเสียหายจากฟันผุ ฟันแตกหัก ฟันสึก หรือฟันที่ได้ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้ว ส่วนใหญ่มักมีความเสียหายจนไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟัน ซึ่งการครอบฟันนอกจากจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร ยังช่วยในการปรับเรียงตัวของฟัน ปรับสีฟันและรูปร่างฟันที่ไม่สวยงาม ช่วยให้ฟันเรียงตัวและมีสีฟันสวยงาม สร้างความมั่นใจทำให้มีรอยยิ้มที่มั่นใจยิ่งขึ้น

เมื่อใดจึงจะทำครอบฟัน

  1. ฟันร้าวหรือฟันแตกหัก
  2. รูผุขนาดใหญ่
  3. หลังการรักษารากฟัน

ข้อดีของครอบฟัน

  • เพื่อบูรณะให้ฟันกลับมามีรูปร่างเหมือนเดิม
  • สามารถปรับแต่งรูปร่างและการเรียงตัวของฟันได้
  • ในฟันมีความผิดปกติ โครงสร้างฟันอ่อนแอ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ฟัน
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น

วัสดุที่ใช้ในการครอบฟัน
การครอบฟันทำด้วยวัสดุหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้ได้แก่ วัสดุประเภทโลหะล้วน เซรามิกล้วน หรือโลหะเคลือบด้วยเซรามิก การเลือกวัสดุขึ้นอยู่กับการสบฟัน ความสวยงาม ราคา และความพึงพอใจของผู้ป่วย

การดูแลรักษาหลังครอบฟัน
หลังทำการครอบฟันควรระมัดระวังในการใช้งาน กรณีฟันหน้าไม่ควรใช้กัดของแข็ง และควรดูแลทำความสะอาด เพื่อป้องกันฟันผุใต้ครอบฟัน และป้องกันเหงือกอักเสบ ดังนี้

  1. ควรแปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง โดยแปรงบริเวณผิวด้านบน และด้านข้างของฟัน เหมือนกับการแปรงฟันทั่วไป บางกรณีควรใช้แปรงซอกฟันทำความสะอาดบริเวณช่องว่างระหว่างฟันร่วมด้วยเพื่อความสะอาดยิ่งขึ้น
  2. ควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันและใต้สะพานฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารและแบคทีเรียบริเวณซอกฟัน อย่างน้อยวันละครั้ง
  3. ควรพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง
  4. หากพบความผิดปกติหลังการครอบฟันควรกลับไปพบทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาโดยเร็ว

ที่มา :
1.กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข https://bit.ly/3ODkGM0
2.คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3F1vCQv


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท