Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เจ็บครรภ์ก่อนคลอดเป็นอย่างไร


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

30-11-2022 13:12

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 8-9 มักจะมีอาการมดลูกหดเกร็ง ทำให้มีอาการปวดบ้างเล็กน้อยซึ่งเป็นการเจ็บเตือน และจะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้จะคลอด โดยจะมีอาการต่างๆ คอยเตือนว่าเป็นการเจ็บเตือนหรือเจ็บท้องจะคลอดจริงๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจะสับสนว่าเจ็บแบบไหนเจ็บเตือน แบบไหนเป็นการเจ็บท้องคลอดจริง จนทำให้เกิดความวิตกกังวล ดังนั้นคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายควรเรียนรู้ถึงอาการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อจะได้ตัดสินใจถูกต้อง

ภาพประกอบเคส

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 8-9 มักจะมีอาการมดลูกหดเกร็ง ทำให้มีอาการปวดบ้างเล็กน้อยซึ่งเป็นการเจ็บเตือน และจะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้จะคลอด โดยจะมีอาการต่างๆ คอยเตือนว่าเป็นการเจ็บเตือนหรือเจ็บท้องจะคลอดจริงๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจะสับสนว่าเจ็บแบบไหนเจ็บเตือน แบบไหนเป็นการเจ็บท้องคลอดจริง จนทำให้เกิดความวิตกกังวล ดังนั้นคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายควรเรียนรู้ถึงอาการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อจะได้ตัดสินใจถูกต้อง

อาการเตือนก่อนคลอด จะเกิดขึ้นในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์และนำไปสู่อาการเตือน ก่อนคลอด อาการเหล่านี้จะใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอดจริง ได้แก่

  • อาการท้องลดและการเคลื่อนต่ำของส่วนนำเข้าสู่อุ้งเชิงกราน เกิดขึ้นประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ก่อนคลอด ทารกในครรภ์จะเคลื่อนตัวลงสู่อุ้งเชิงกราน ทำให้ความสูงของยอดมดลูกลดลงเล็กน้อย อาการนี้เป็นอาการแรกของการเข้าสู่ระยะการคลอด
  • ปวดท้องน้อยและทวารหนัก จะรู้สึกเหมือนมีอะไรกดทับบริเวณขาหนีบ และปวดหลังส่วนล่างตลอดเวลา
  • น้ำหนักตัวคงที่หรือลดลงเล็กน้อย โดยปกติหญิงตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม แต่ในระยะใกล้คลอดสามารถลดลงถึง 1 กิโลกรัม
  • รู้สึกเหมือนหมดแรง ลื่นล้มง่าย ชอบอยู่นิ่งๆ เพื่อเตรียมพลังเพื่อเลี้ยงลูก
  • มูกในช่องคลอดเหนียวและข้นมากขึ้น
  • มูกที่อุดปากมดลูกหลุด แต่อาจอยู่ในช่องคลอดโดยจะขับออกมาเมื่อน้ำเดินหรือเจ็บครรภ์จริง ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากหลุดจากปากมดลูก
  • มีมูกเลือดปน เนื่องจากการเปิดของปากมดลูกจะมีการฉีกขาดของเยื่อบุและหลอดเลือดฝอยบริเวณ นั้น ทำให้มีเลือดปนออกมา หากมีอาการนี้เกิดขึ้นแสดงว่าจะมีการคลอดเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง แต่บางรายอาจจะเลื่อนออกไปได้อีกหลายวัน
  • การหดรัดตัวของมดลูกจะแรงและบ่อยขึ้น จนทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
  • ท้องเสีย เนื่องจากลำไส้ส่วนล่างถูกรบกวน

อาการเจ็บเตือน จะเกิดขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอ ส่วนความแรงของการหดรัดตัวจะคงที่ ไม่เจ็บเพิ่มขึ้น

  • คุณแม่จะเจ็บบริเวณท้องน้อย ไม่ปวดร้าวไปด้านหลัง
  • อาการเจ็บจะดีขึ้นเมื่อเดินรอบหรือเปลี่ยนอิริยาบถ
  • ลักษณะมูกจะออกเป็นเลือดเก่าคือสีจะเข้ม ไม่เป็นสีชมพูสด หรือแดงสด
  • การดิ้นของทารกจะแรงขึ้น

อาการเจ็บท้องคลอดจริง

  • อาการแข็งตัวของมดลูกเพิ่มขึ้น เจ็บนานขึ้นและถี่ขึ้น แม้ว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถ หรือนอนพักอาการปวดก็ไม่ดีขึ้น
  • อาการเจ็บจะเริ่มที่หลังแล้วปวดร้าวมาถึงด้านหน้าบริเวณหัวหน่าวและท้องน้อย บางครั้งจะปวดร้าวลงขา และอาจมีอาการปวดท้องอยากถ่ายอุจจาระและถ่ายบ่อย
  • มีมูกเลือดปนออกมาเป็นเลือดสด สีจะแดงสด
  • มีถุงน้ำแตก

เมื่อเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์จริง โดยอาการเจ็บนั้นจะอยู่นานตลอดชั่วโมง และเจ็บปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 1 นาทีต่อครั้ง เวลานี้คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที

กรณีที่เจ็บครรภ์น้อยๆ อาจจะพักอยู่กับบ้าน 4-8 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าเจ็บครรภ์จริง จึงเตรียมตัวไปโรงพยาบาล อย่ากลัวว่าถ้าไม่เจ็บท้องคลอดจริงแล้วไปโรงพยาบาลจะโดนทางโรงพยาบาลต่อว่าใดๆ และหากสงสัยไม่แน่ใจรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
https://bit.ly/3XBO4q6


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท