Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำอย่างไรเมื่อผู้สูงอายุหายออกจากบ้าน


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

30-11-2022 11:45

กลุ่มอาการสมองเสื่อมที่พบมากในผู้สูงอายุ ต้องพิจารณาว่าเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมากขึ้นหรือเป็นโรคสมองเสื่อม ความแตกต่างระหว่างอาการลืมปกติ และการป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม คือ คนสูงอายุทั่วไปอาจมีอาการลืมได้บ้าง แต่ลืมแล้วจำได้ แต่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะจำไม่ได้เลยว่ามีการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

ภาพประกอบเคส

กลุ่มอาการสมองเสื่อมที่พบมากในผู้สูงอายุ ต้องพิจารณาว่าเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมากขึ้นหรือเป็นโรคสมองเสื่อม ความแตกต่างระหว่างอาการลืมปกติ และการป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม คือ คนสูงอายุทั่วไปอาจมีอาการลืมได้บ้าง แต่ลืมแล้วจำได้ แต่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะจำไม่ได้เลยว่ามีการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

เมื่อคนหายเนื่องมาจากอาการของโรคสมองเสื่อม เบื้องต้นครอบครัวหรือญาติควรตรวจสอบ ทรัพย์สินรูปพรรณและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ผู้หายสวมใส่ก่อนที่จะหายไป เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเป็นจุดสังเกตคนหาย และวิเคราะห์เส้นทางในการติดตามคนหาย

หลังจากนั้นจึงไปสอบถามข้อมูลจากเพื่อนบ้าน ร้านค้า จักรยานยนต์รับจ้าง หรือผู้ที่อาศัยอยู่ตามบริเวณต่างๆ ซึ่งเป็นทางผ่านหรือเป็นบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่หาย เพื่อหาเบาะแสว่าคนหายเดินพลัดหลงไปตามเส้นทางใด ทั้งนี้การหาข้อมูลดังกล่าวควรนำรูปถ่ายและควรมีข้อมูลทางรูปพรรณคนหาย เช่น เสื้อผ้าที่คนหายสวมใส่ หรือจุดสังเกตที่เด่นชัดของคนหาย ซึ่งคนที่สัญจรผ่านไปมาอาจพบเห็นและ แจ้งเบาะแสดังกล่าวได้

กระบวนการติดตามคนหายกรณีโรคสมองเสื่อม

  1. การวิเคราะห์อุปนิสัยและพฤติกรรมของคนหาย ครอบครัวต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ถึงเบาะแสในการติดตามคนหาย โดยข้อมูลในส่วนนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากพฤติกรรรมและการแสดงออกของคนหายจะเชื่อมโยงกับสถานที่ซึ่งคนหายอาจจะพลัดหลงไป เช่น พฤติกรรมการเดินทาง
  2. การตรวจสอบในสถานที่ซึ่งคาดว่าคนหายไป สถานที่ซึ่งคนหายคุ้นเคยหรือไปเป็นประจำ บ้านหรือที่ทำงานเก่าของคนหาย เนื่องจากผู้มีอาการสมองเสื่อมส่วนใหญ่มักจดจำแต่เรื่องในอดีต
  3. การตรวจสอบที่โรงพยาบาลละแวกบ้าน โรงพยาบาลใกล้เคียงกับบริเวณคนหายได้พลัดหลงหายไปทุกแห่งคืออีกสถานที่หนึ่งซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าคนหายอาจจะถูกนำตัวไปรักษาพยาบาล เนื่องจากคนหายประเภทโรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่จะเป็นสูงอายุ อาจจะประสบอุบัติเหตุหรือเป็นลมล้มพับในระหว่างที่กำลังเดินพลัดหลงอยู่จนพลเมืองดีหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจนำส่งโรงพยาบาล ครอบครัวจึงควรเรียงลำดับรายชื่อโรงพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง และไปสอบถามยังฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาล นั้นๆ
  4. การตรวจสอบยังสถานีตำรวจ อาจมีคนพบเห็นคนหายและนำตัวมาส่งยังสถานีตำรวจ ครอบครัวคนหายควรฝากลักษณะรูปพรรณ ของคนหายและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับของครอบครัวคนหายไว้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดต่อกลับได้ในภายหลัง 5.การตรวจสอบที่อู่รถโดยสารประจำทาง คนหายอาจจะขึ้นรถประจำทางเพื่อหาทางกลับบ้าน แต่ไม่รู้จุดหมายปลายทาง ว่าจะเดินทางไปที่ใดดังนั้นหากมีความเป็นไปได้ว่าคนหายจะขึ้นรถประจำทาง ครอบครัวคนหายควรตรวจสอบว่ารถประจำทางสายใดบ้างที่ผ่านบริเวณบ้าน แต่หากคนหายไม่สามารถขึ้นรถโดยสารประจำทางได้เพียงลำพังมีความเป็นไปได้ ว่าคนหายดังกล่าวจะใช้วิธีการเดินไปเรื่อยๆ เพราะไม่คุ้นเคยในการขึ้นรถ
  5. การตรวจสอบยังสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่รวบรวมคนหายพลัดหลงที่มีอาการสมองเสื่อม โดยเมื่อทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับคนหายไว้ในการดูแลและไม่สามารถติดต่อหาครอบครัวได้ ก็จะนำตัวมาฝากไว้ที่นี่ก่อน
  6. การตรวจสอบเรื่องอุบัติเหตุ และแผนกนิติเวชตามโรงพยาบาลต่างๆ เป็นการตรวจสอบอุบัติเหตุแบบคร่าว ๆ เผื่อในกรณีที่คนหายอาจประสบอุบัติเหตุ และถูกนำตัวส่งไปยังโรงพยาบาล
  7. การตรวจสอบยังกรมราชทัณฑ์ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทางครอบครัวของคนหายควรดำเนินการตรวจสอบ หลังจากที่ลองตรวจสอบตามสถานที่ได้แนะนำในข้างต้นหมดแล้ว ทางครอบครัวสามารถโทรศัพท์ไปสอบถามเรื่องเอกสาร หรือการดำเนินการตรวจสอบดังกล่าว ที่หมายเลขโทรศัพท์ของกรมราชทัณฑ์ ที่เลขหมาย 0-2967-2222

ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา
https://bit.ly/3AMkrIY


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท