Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ผู้สูงอายุกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

30-11-2022 11:41

สื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อผู้คนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องรู้เท่าทันและสามารถใช้ประโยชน์จากดินเทอร์เน็ต โซเซียลมีเดีย และสมาร์ทโฟน ในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร โปรแกรมการดูแลสุขภาพ จนถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน

ภาพประกอบเคส

สื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อผู้คนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องรู้เท่าทันและสามารถใช้ประโยชน์จากดินเทอร์เน็ต โซเซียลมีเดีย และสมาร์ทโฟน ในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร โปรแกรมการดูแลสุขภาพ จนถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน โทรศัพท์มือถือถูกพัฒนาให้ฉลาดและอำนวยความสะดวกได้มากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุใช้งานโทรศัพท์ มือถือสมาร์ทโฟนได้มากกว่าการพูดคุย ทำให้การสื่อสารกว้างขวางมากขึ้น เพราะสามารถพบเจอกับคนใหม่ ๆ ที่ไม่รู้จัก หรืออาจจะเคยรู้จักกัน เช่น เพื่อนร่วมรุ่น สมัยเมื่อครั้งยังหนุ่มยังสาว รวมถึงสามารถเข้าถึงกลุ่มต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ เช่น เพจการทำบุญ กีฬา สุขภาพ ได้มีการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

การใช้งานโซเชียลมีเดียของผู้สูงอาย มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

ประโยชน์ของโซเชียลมีเดียต่อผู้สูงอายุ

  • รับรู้ข่าวสาร ก้าวทันโลก
  • เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลาอย่างง่ายดาย
  • คลายความเหงา ไม่น่าเบื่อ
  • ติดต่อลูกหลานง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้วสัมผัส
  • มีสังคมพบปะเพื่อนฝูงในวัย เดียวกันได้ง่ายขึ้น
  • แก้ไขปัญหาสุขภาพเบื้องต้น

ข้อเสียจากการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไป

  • เสียสุขภาพจากการจ้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นานเกินไปจนสายตาพร่ามัว เป็นการทำลายจอประสาทตา
  • ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ปวดต้นคอ ปวดหลัง
  • การใช้ Social Media ก่อนเข้านอน จะทำให้นอนไม่หลับ เนื่องจากมีการกระตุ้นระบบประสาทมากเกินไปจนอาจนำมาซึ่งโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง และโรคซึมเศร้า
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด
  • บางรายสูญเสียทรัพย์สินเงินทองและเวลามากเกินไปโดยไม่จำเป็น
  • อาจทำให้บริโภคข้อมูลที่ผิด หากทำตามก็อาจจะนำไปสู่อันตรายได้

นอกจากนี้ผู้สูงอายุไม่ควรที่จะทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับคนที่ไม่รู้จัก ที่สำคัญลูกหลานต้องบอกย้ำด้วยว่าอย่าเชื่อข่าวสารบนโซเชียลมีเดียทั้งหมด ควรคิดวิเคราะห์ให้รอบคอบ อย่าแชร์อย่าส่งต่อจนกว่าจะแน่ใจเพราะอาจมีผลกระทบตามมา

แอปพลิเคชันที่ผู้สูงอายุนิยมใช้มากที่สุด คือ Line รองลงมาคือ Facebook และ YouTube ส่วนกิจกรรมยอดฮิต คือ การส่งข้อความหรือวิดีโอผ่าน Line การแชร์คอนเทนต์ผ่าน Line หรือ Facebook การอัพสเตตัส การอัพโหลดรูปและวิดีโอ รวมถึงการโพสต์คอมเมนต์ต่าง ๆ ใน Facebook โดยมีการแสดง ความคิดเห็น การกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์

ที่มา :
1.วารสารพัฒนาข้าราชการ กทม. https://bit.ly/3gDNeJ1
2.กรมกิจการผู้สูงอายุ https://bit.ly/3EH3H7i


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท