Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ลักษณะเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

21-11-2022 14:58

ปัญหาสุดปวดใจของเหล่าคู่รักที่อยากมีลูก ไม่ว่าจะลองวิธีไหนก็ไม่มีกับเขาเสียที ลองหันมาสังเกตพฤติกรรมของตัวเองว่ามีพฤติกรรมไหนเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยากบ้าง ใครมีลักษณะเสี่ยงตามต่อไปนี้แล้ว รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองได้เลย

ภาพประกอบเคส

ปัญหาสุดปวดใจของเหล่าคู่รักที่อยากมีลูก ไม่ว่าจะลองวิธีไหนก็ไม่มีกับเขาเสียที ลองหันมาสังเกตพฤติกรรมของตัวเองว่ามีพฤติกรรมไหนเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยากบ้าง ใครมีลักษณะเสี่ยงตามต่อไปนี้แล้ว รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองได้เลย

  1. อายุมากขึ้น มีผลต่อการมีบุตรยากโดยตรง

  2. ผู้หญิง หากอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสตั้งครรภ์ลดลง เนื่องจากคุณภาพและปริมาณของไข่ลดลง เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซม

  3. ผู้ชาย เมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ฮอร์โมนเพศชาย การมีกิจกรรมทางเพศ และปริมาณน้ำเชื้ออสุจิมีคุณภาพลดลงเซลล์ไข่มีคุณภาพและปริมาณลดลง

  4. มีน้ำหนักตัวมากไป ผู้หญิงมักจะสัมพันธ์กับภาวะไข่ไม่ตก ฮอร์โมนเพศชายมากขึ้นในเพศหญิง และผู้ชายจะมีฮอร์โมนเพศหญิงสูงขึ้น ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

  5. มีโรคประจำตัวบางชนิดการรับประทานยาบางชนิดส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนสืบพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ชาย จะทำให้คุณภาพและปริมาณของตัวอสุจิลดลง ยาบางชนิดมีผลลดอารมณ์ทางเพศ การแข็งตัวของอวัยวะเพศและการหลั่งน้ำอสุจิได้

  6. สูบบุหรี่ นิโคตินในบุหรี่จะไปเพิ่มสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ส่งผลต่อคุณภาพของไข่ในผู้หญิง คุณภาพและปริมาณอสุจิจะลดลงในผู้ชาย

  7. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้การดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุลดลง ส่งผลให้ปริมาณอสุจิที่แข็งแรงลดลง และยังทำให้ปริมาณของอสุจิลดลงด้วย

  8. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ในหนึ่งวันไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกิน 300 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับกาแฟ 3 แก้ว จะส่งผลทำให้อัตราการมีบุตรยากสูงขึ้น

  9. ไม่ออกกำลังกาย จะทำให้การเผาผลาญแย่ลง และฮอร์โมนสืบพันธุ์แปรปรวน

  10. มีความเครียด ส่งผลไปถึงการนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำมีผลไปถึงการตั้งครรภ์ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลที่ระบุได้แน่ชัดถึงความสามารถในการสืบพันธุ์

  11. การมีคู่นอนหลายคน นอกจากมีลูกยากแล้ว ยังเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หลายชนิด และการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นไวรัสก่อโรคมะเร็งปากมดลูก โรคบางชนิดอาจเกิดภาวะหนองใน หนองในเทียม ทำให้มีบุตรยาก หรือเป็นหมั่นถาวร

  12. ภาวะปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ และภาวะตกขาวในผู้หญิง ควรได้รับการตรวจประเมินเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุบางชนิด สัมพันธ์กับการมีบุตรยาก

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3O3bzUK และ https://bit.ly/3EJcyFB


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท