ภัยจิตเด็ก กับภาวะที่มิใช่แค่งอแง ไม่อยากไปเรียน
หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
21-11-2022 14:47
"โรคไม่อยากไปโรงเรียน" แม้จะไม่ถึงกับทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพกาย” แต่ก็อาจส่งผลทำ ให้ “เป็นปัญหาต่อสุขภาพจิต” ได้ ในทางการแพทย์ หรือทางจิตวิทยา เรียกว่า "ภาวะ school refusal"
"โรคไม่อยากไปโรงเรียน" แม้จะไม่ถึงกับทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพกาย” แต่ก็อาจส่งผลทำ ให้ “เป็นปัญหาต่อสุขภาพจิต” ได้ ในทางการแพทย์ หรือทางจิตวิทยา เรียกว่า "ภาวะ school refusal"
ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากการเรียนออนไลน์อยู่บ้านมานานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และเมื่อต้องกลับไปเรียนในโรงเรียนแบบปกติ เด็กๆ หลายคนจึงเกิดอาการ “ไม่อยากไปเรียน” แต่ก็มีเด็กบางส่วน โดยเฉพาะเด็กเล็ก “ไม่อยาก”
ภาวะที่เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน “เป็นภาวะเร่งด่วนทางจิตเวชเด็ก” เพื่อช่วยปรับสภาพ-ฟื้นฟูจิตใจ ให้กับเด็ก ๆ ที่เกิดภาวะนี้ ซึ่งผู้ปกครองหลายคนมองว่าเด็กอาจแค่มีอาการงอแง แต่ในความเป็นจริง กรณีนี้สามารถสร้างบาดแผลเล็ก ๆ ในใจไว้กับเด็ก ๆ โดยที่เด็กหรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองอาจจะไม่รู้ตัว โดยปัญหาหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนก็คือเรื่องของ “พัฒนาการความสัมพันธ์” ที่เด็ก ๆ เหล่านี้จะเกิดปัญหาด้านนี้ค่อนข้างมาก เมื่อต้องกลับไปใช้ชีวิตในโรงเรียนแบบปกติ…
สาเหตุของภาวะที่เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน
กลุ่มเด็กวัยอนุบาล
- เกิดจากความรู้สึกวิตกกังวลของเด็ก ที่จะต้องพลัดพรากจากพ่อแม่เมื่อไปโรงเรียนวันแรก ๆ
- เด็กที่มีพื้นฐานบุคลิกภาพแบบวิตกกังวลง่าย หรือ ได้รับการเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป
กลุ่มเด็กโตจากวัยอนุบาลขึ้นมา
- อาจเกิดจากการที่เด็กมีปัญหาเรื่องการเรียน
- เด็กอาจมีปัญหาการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน หรือไม่สามารถเข้ากับเพื่อนในโรงเรียนได้
- เกิดจากเด็กถูกทำโทษอย่างรุนแรงที่โรงเรียน จนทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียน
ภาวะอาการไม่อยากไปโรงเรียน จะยิ่งเป็นปัญหาในกรณีที่เด็กมีภาวะซึมเศร้าหรือป่วยด้วยอาการทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย ดังนั้นเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองพบว่าบุตรหลานมักจะเกิดอาการงอแงรุนแรงเมื่อจะต้องไปโรงเรียน ควรเร่งวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อที่จะแก้ไขหรือปรับสภาพจิตใจให้กับเด็ก ก่อนที่ปัญหาลุกลามมากยิ่งขึ้น
วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น
- ไม่ยอมลุกขึ้นจากเตียงนอน เมื่อถึงเวลาต้องตื่น
- ปฏิเสธชุดนักเรียน เมื่อต้องสวมใส่ไปโรงเรียน
- ร้องไห้รุนแรงทุกครั้ง ที่จะต้องไปโรงเรียน
- เด็กบางรายอาจจะเกิดอาการงอแงตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน เพื่อหาทางให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองมารับกลับบ้าน
เมื่อเด็กมีอาการรุนแรงมากขึ้น ก็อาจแสดงพฤติกรรมต่อต้านออกมาให้เห็น เช่น อาละวาดโวยวาย ด่าทอทำร้ายร่างกายผู้ปกครอง จนถึงแสดงออกผ่านอาการทางกายแบบไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปวดท้อง ปวดหัว วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย โดยอาการเหล่านี้ มักเกิดขึ้นช่วงเช้าก่อนไปโรงเรียน และมักจะหายไปเองเมื่อเด็กได้หยุดเรียนอยู่ที่บ้าน หรือเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เด็กไม่ต้องไปโรงเรียน
การพาเด็กกลับสู่โรงเรียนเป็นหัวใจของการช่วยเหลือ โดยแนวทางช่วยเหลือในเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจะต้องช่วยกัน พ่อแม่เปิดใจรับฟังสิ่งที่ลูก ๆ ต้องการบอกถึงสาเหตุที่ไม่ยอมไปโรงเรียน คุณครูจะต้องดูแลช่วยเหลือเด็กอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะวันแรกที่เด็กมาโรงเรียน
ที่มา : กรมสุขภาพจิต
https://bit.ly/3XjDsMI