Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

หลอดเลือดสมองแตก โรคร้ายที่เกิดฉับพลัน


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

21-11-2022 14:34

โรคหลอดเลือดสมองแตกเป็นโรคที่มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่มาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่ภาวะการตีบ ตัน และแตกได้ในที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพราะอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต และรุนแรงที่สุดคือถึงขั้นเสียชีวิตถือเป็นโรคร้ายอีกหนึ่งโรคที่ควรตระหนักโดยทั่วกัน ทั้งยังสามารถเกิดได้แบบฉับพลันโดยไม่ทันตั้งตัวอีกด้วย

ภาพประกอบเคส

โรคหลอดเลือดสมองแตกเป็นโรคที่มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่มาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่ภาวะการตีบ ตัน และแตกได้ในที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพราะอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต และรุนแรงที่สุดคือถึงขั้นเสียชีวิตถือเป็นโรคร้ายอีกหนึ่งโรคที่ควรตระหนักโดยทั่วกัน ทั้งยังสามารถเกิดได้แบบฉับพลันโดยไม่ทันตั้งตัวอีกด้วย

ช่วงอายุที่เสี่ยงต่อการเสื่อมของเส้นเลือดนำไปสู่การตีบ ตัน และแตกได้นั้น คือ ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็ยังพบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนเกิดโรคนี้ก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังพบว่าโรคดังกล่าวสามารถพบได้ในเด็ก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติของหลอดเลือดมาตั้งแต่กำเนิด

อาการของหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตกจะคล้ายๆ กัน คือ - ส่งผลให้ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งชาหรืออ่อนแรงขึ้นมาทันที - เกิดแบบฉับพลันไม่ทันได้ตั้งตัว เช่น ถือแก้วน้ำอยู่ดีๆ แก้วน้ำในมือก็หลุดร่วงลงไปเฉยๆ หรือผู้ป่วยบางรายก็หมดสติไปเลย ทั้งที่ยังปกติดีทุกอย่าง - หากเกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตกผู้ป่วยอาจปวดศีรษะรุนแรงมาก ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก

  • ปัจจัยที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมของตัวผู้ป่วยเอง เช่น การสูบบุหรี่จัด หรือเป็นโรคความดันสูงเรื้อรังและไม่ยอมรักษา เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียด
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด
  • กรรมพันธุ์

วิธีการป้องกันรักษา

  • สำรวจว่าตนเองมีความเสี่ยงหรือไม่ หากมีต้องดูแลในส่วนนั้นอย่างเคร่งครัด
  • พยายามเลิกบุหรี่
  • หากมีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อโรค ควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมไม่ให้ส่งผลข้างเคียงอื่นๆ
  • รับประทานอาหารที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  • ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการของหลอดเลือดสมองแตกควรรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะการส่งแพทย์ได้เร็วย่อมรักษาได้ทันท่วงทีกว่าการส่งแพทย์ที่ล่าช้า

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3TSvtTC


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท