Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

นอนดึกก็สดชื่นได้


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

21-11-2022 14:11

อาการนอนน้อยสามารถเกิดได้กับคนที่ต้องทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำทุกวัน มีเวลานอน การนอนน้อยสะสมติดต่อกันเป็นเวลานานย่อมทำให้เกิดความรู้สึกเพลีย หรืออาจจะทำให้ทำงานได้ไม่เต็ม 100% เคล็ดลับการตื่นนอนให้สดชื่นแม้จะนอนไม่พอใช้กดง่าย ๆ ที่เรียกว่า “กฎ 90 นาที” ที่จะช่วยให้การนอนของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาพประกอบเคส

อาการนอนน้อยสามารถเกิดได้กับคนที่ต้องทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำทุกวัน มีเวลานอน การนอนน้อยสะสมติดต่อกันเป็นเวลานานย่อมทำให้เกิดความรู้สึกเพลีย หรืออาจจะทำให้ทำงานได้ไม่เต็ม 100% เคล็ดลับการตื่นนอนให้สดชื่นแม้จะนอนไม่พอใช้กดง่าย ๆ ที่เรียกว่า “กฎ 90 นาที” ที่จะช่วยให้การนอนของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การตื่นมาแล้วไม่รู้สึกสดชื่นเท่าที่ควร อาจมีสาเหตุมาจากการนอนที่ไม่ครบ Cycle หรือรอบการนอนหลับ มีผลทำให้เมื่อตื่นนอนเกิดอาการง่วงงัวเงีย หรือรู้สึกไม่สดชื่นอย่างที่ควรจะเป็น โดยปกติแล้วเวลาที่จะแบ่งการนอนหลับออกเป็น 2 แบบ คือ แบบหลับลึก และแบบหลับตื้น

ในหนึ่งคืนการนอนของเราจะสลับระหว่างตื้นกับหลับลึกไปเรื่อยๆ จนตื่นขึ้นมา ซึ่งวงจรการนอนหลับจะเปลี่ยนทุก ๆ 90 นาที เมื่อครบรอบแล้วก็จะวนเช่นนี้ไปตลอดทั้งคืน ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงสามารถคำนวณเวลาเพื่อปลุกให้ตัวเองตื่นขึ้นมาในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้

หากตื่นขึ้นมาตอนที่สมองอยู่ในภาวะหลับลึก หรือถูกปลุกให้ตื่นในช่วงนี้ ร่างกายจะอ่อนเพลีย ง่วงเหงาหาวนอน และทำให้การตื่นนอนยากกว่าปกติ ตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกไม่สดชื่นหรือรู้สึกหงุดหงิดนั้นเอง

ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณตื่นขึ้นมาในช่วงที่สมองหลับตื้น สมองเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่ตื่น ทำให้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดความฝันขึ้นได้ และทำให้เราสามารถจำความฝันได้นั่นเอง นอกจากนี้การตื่นนอนในช่วงเวลาหลับตื้นจะทำให้ตื่นง่ายขึ้น เวลาตื่นจะรู้สึกไม่งัวเงีย และสดชื่นมากกว่าที่คุณเป็น และนี่คือเหตุผลของการนอนน้อยแต่สดชื่นนั่นเอง

วิธีการตื่นในช่วงเวลาหลับตื้น
เราจะต้องรู้จักการวางแผนเวลาการนอนที่เหมาะสมโดยนับถอยหลังจากช่วงเวลาที่คุณต้องการอยากจะตื่น ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการตื่นนอนตอน 6:00 น. ให้นับถอยหลังไซเคิลละ 90 นาทีคุณก็จะทราบระยะเวลาช่วงการหลักที่เหมาะสมได้ เวลาที่เหมาะสมจะเข้านอน คือ เวลา 21.00 น. / 22.30 น. / 24.00 น. / 01.30 น.

การคำนวณแบบเดียวกันถ้าคุณอยากตื่นตอนไหน ก็แค่หักลบเวลาไปทุกๆ 90 นาที เช่น

  • ถ้าอยากตื่นนอน 7 โมง ควรเข้านอนตอน 22.00 น. / 23.30 น. / 01.00 น. / 02.30 น.
  • ถ้าอยากตื่นนอน 8 โมง ควรเข้านอนตอน 23.00 น. / 00.30 น. / 01.30 น. / 03.30 น.

สำหรับคนที่นอนหลับยาก การทำใจให้นอนในเวลาที่เราไม่คุ้นเคย อาจจะทำให้คุณหลับได้ยากกว่าเดิม และหากเลยช่วงการนอนหลับที่เหมาะสมไปแล้ว อาจจะส่งผลให้ตื่นในช่วงเวลาของการหลับลึกได้ ดังนั้นควรเผื่อเวลาเข้านอนก่อนเวลาที่ต้องการสักเล็กน้อย โดยเผื่อไว้ประมาณ 10-15 นาที รวมทั้งหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้คุณตาค้าง หลับยาก เพื่อให้การนอนของคุณสมบูรณ์มากที่สุด ถึงแม้จะนอนน้อยกว่าปกติ แต่ถ้าตื่นตรงเวลาในช่วงการหลับตื้น ก็จะช่วยให้การตื่นของคุณมีความสดชื่นมากขึ้นกว่าเดิมได้ และลืมไปได้เลยกับอาการงัวเงียตอนเช้าเพราะนอนไม่พอ

ที่มา : สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3UUOR3G


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท