ฉีดวัคซีนโควิด ลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนัก
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: โควิด
15-11-2022 16:26
ในช่วงเริ่มต้นการระบาดครั้งใหม่ที่มีลักษณะเป็น Small wave หลังจากการปรับให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 12.8 หนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนผู้ป่วยเสียชีวิตยังมีแนวโน้มคงตัว
ในช่วงเริ่มต้นการระบาดครั้งใหม่ที่มีลักษณะเป็น Small wave หลังจากการปรับให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 12.8 หนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนผู้ป่วยเสียชีวิตยังมีแนวโน้มคงตัว
จากการติดตามข้อมูลเฝ้าระวังโรคของกรมควบคุมโรค ผู้ป่วยอาการหนักใส่ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตในรอบสัปดาห์ที่ 45 (วันที่ 6 – 12 พฤศจิกายน 2565) มากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นผู้ที่ไม่รับวัคซีนโควิด 19 และไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค หากติดเชื้อโควิด 19 จะมีโอกาสป่วยหนักได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย และผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือกลุ่ม 608 ที่เริ่มมีอาการป่วย ทั้งมีไข้ ไอ และ ATK ซึ่งหากพบเชื้อ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโรคโดยเร็ว
การป้องกันเบื้องต้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19 - ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับวัคซีนควรงดออกจากบ้าน - สมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่มวัยทำงาน และมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ติดเชื้อนอกบ้าน เช่น ไปสถานบันเทิง ให้งดใกล้ชิดผู้สูงอายุ - ควรพาพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอาในบ้าน รวมทั้งเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เข้ารับการฉีดวัคซีน ทั้งเข็มแรกหรือเข็มกระตุ้นหากได้รับเข็มสุดท้ายมานานเกิน 4 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนัก และ ลดระยะเวลาการรักษาโรค
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181257/