Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วิธีป้องกันฟันผุเพราะติดขวดนม


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

15-11-2022 15:38

โรคฟันผุจากขวดนม (Baby Bottle Tooth Decay: BBTD) เกิดจากน้ำตาลในนมที่ค้างอยู่ในช่องปากเป็นเวลานานถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ในช่องปากและเกิดเป็นกรด ซึ่งสามารถทำลายแคลเซียมในฟัน และนำไปสู่ปัญหาฟันผุในเด็ก

ภาพประกอบเคส

โรคฟันผุจากขวดนม (Baby Bottle Tooth Decay: BBTD) เกิดจากน้ำตาลในนมที่ค้างอยู่ในช่องปากเป็นเวลานานถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ในช่องปากและเกิดเป็นกรด ซึ่งสามารถทำลายแคลเซียมในฟัน และนำไปสู่ปัญหาฟันผุในเด็ก

ปัญหาฟันผุจากขวดนมส่วนใหญ่เกิดกับเด็กอายุระห่าง 1-2 ปีที่ ไม่ยอมเลิกขวดนมตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่คุณแม่ต้องเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับสุขภาพฟัน ซึ่งในวัยนี้เจ้าตัวน้อยจะมีฟันประมาณ 18 ซี่แล้วและฟันน้ำนมจะขึ้นครบทั้ง 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 33 เดือน วิธีป้องกันโรคฟันผุเมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน พ่อแม่ควรให้ลูกเลิกขวดนมได้ตั้งแต่ในช่วงอายุ 6 เดือน และให้เลิกได้อย่างเด็ดขาดภายในอายุ 2 ขวบ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับลูก สำหรับเด็กที่ยังไม่พร้อมเลิกขวดนม คุณแม่สามารถช่วยให้การเลิกขวดนมของลูกประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  1. ไม่ปล่อยให้ลูกหลับไปพร้อมกับขวดนม หลังจากที่ลูกดูดนมจากขวดตามปกติ ควรให้ลูกดูดน้ำตาม หรือหลับไปพร้อมกับขวดน้ำแทน น้ำจะช่วยชะล้างคราบนมที่ติดในปากได้
  2. แปรงฟันให้ลูกวันละสองครั้งเช้า เย็น ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ตั้งแต่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น หรือเมื่อ ดูดนมจากขวดก่อนนอนแล้ว คุณแม่ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำพันที่นิ้ว เช็ดฟันและเหงือกบริเวณที่ฟันยังไม่ขึ้นให้ลูกทุกคืน เพื่อเช็ดคราบนมออกจากฟัน
  3. เมื่อลูกอายุประมาณ 1 -1 ขวบครึ่ง ควรให้เลิกดูดนมขวด โดยให้ดื่มนมจากแก้วแทน
  4. เมื่อลูกอายุประมาณ 2 ครึ่ง ควรให้เลิกดูดนมขวดอย่างถาวร เพราะการดูดขวดนมจนโตส่งผลเสียต่อขากรรไกรบน อาจส่งผลให้ลูกมีฟันเหยิน ฟันยื่นในอนาคตได้ โดยค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำเมื่อชงนมผง เพื่อเจือจางน้ำตาลในนม หลังจากนั้นให้แต่ขวดน้ำเปล่าโดยไม่ต้องใส่นม แต่หากลูกตื่นมาหิวกลางดึกควรให้นมเจ้าตัวน้อยตามเดิม เพื่อให้เขาอิ่มท้องและหลับสนิทตลอดคืน
  5. ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุก 6 เดือน ตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลฟันให้เจ้าตัวน้อยอย่างถูกวิธี รวมถึงเคลือบฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุด้วย

ที่มา : กองทันตสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://bit.ly/3UO3G7M


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท