Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

อาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

07-11-2022 09:15

ผู้สูงอายุในประเทศไทย มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารถึงร้อยละ 42.6 ปัญหาเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเคี้ยวกลืนที่ลำบาก การเบื่ออาหาร ส่งผลให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยลง พฤติกรรมที่รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลต่อภาวะขาดสารอาหารหรือการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา

ภาพประกอบเคส

ผู้สูงอายุในประเทศไทย มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารถึงร้อยละ 42.6 ปัญหาเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเคี้ยวกลืนที่ลำบาก การเบื่ออาหาร ส่งผลให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยลง พฤติกรรมที่รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลต่อภาวะขาดสารอาหารหรือการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา

สาเหตุของอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ

  • สาเหตุทางกายภาพ เช่น ความผิดปกติของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อสำหรับการเคี้ยวอาหาร ปัญหาสุขภาพฟัน ภาวะกลืนลำบาก อาการสำลักอาหารและน้ำบ่อย ๆ ความสามารถในการรับรสและกลิ่นลดลง รับรสได้ไม่เต็มที่ จนเบื่ออาหาร ส่งผลต่อการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • สาเหตุทางจิตใจ ภาวะอารมณ์มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ เมื่อเกิดภาวะความเครียด หรือต้องรับประทานอาหารคนเดียว ก็เป็นสาเหตุอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อยลง

การปรับรูปแบบการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ

  1. อาหารควรมีขนาดชิ้นเล็ก เนื้อสัมผัสนิ่มเป็นเนื้อเดียวกัน เนื้อละเอียด และมีความชุ่มน้ำ เพื่อลดความเร็วในการกลืนจากปากลงสู่คอหอย ป้องกันการสำลักอาหาร และภาวะปอดอักเสบ เช่น การหั่นผลไม้และเนื้อสัตว์เป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ง่ายต่อการรับประทาน หรือรับประทานอาหารประเภทซุป โจ๊ก ข้าวต้ม จับฉ่าย เป็นต้น
  2. รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และปรุงสุกใหม่ ส่งผลให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น เน้นลวก ต้ม นึ่ง อบ จัดเมนูผัดและแกงกะทิแต่พอควร เลี่ยงอาหารทอด ไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
  3. ปัญหาเรื่องฟัน ส่งผลต่อการรับประทานอาหารและเคี้ยวอาหาร ดังนั้นผู้สูงอายุควรมีสุขภาพฟันที่ดีหรือมีฟันปลอมที่พอดีกับช่องปาก เพื่อช่วยให้การบดเคี้ยวและกลืนอาหารเป็นได้อย่างปลอดภัย

ข้อควรระวัง

การที่รับประทานอาหารน้อยลง มีผลให้ผู้สูงอายุได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุไทย

ข้อแนะนำ

  • การรับประทานอาหารภายในครอบครัวประจำ อาจช่วยให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเบื่อ มีความสดชื่น สดใส การรับประทานอาหารด้วยกันทุกวัน จะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเหงา
  • เมื่อพบว่าผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ควรค้นหาสาเหตุว่ามาจากเรื่องใด เช่น ยาที่รักษาโรคประจำตัว ปัญหาจากร่างกาย จิตใจ หากอาการเบื่ออาหารยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์เพื่อประเมินปัญหา ให้การวินิจฉัยถึงสาเหตุ และวางแผนการดูแลอย่างเหมาะสม

ที่มา : นักจิตวิทยาคลินิก คลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1523


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท