Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคกระเนื้อ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

07-11-2022 09:08

กระเนื้อ เป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น เป็นผลจากการเจริญผิดปกติของผิวหนังส่วนบนลักษณะเป็นตุ่มแบน หรือติ่งเนื้อนูนออกมา ผิวอาจดูขรุขระเล็กน้อย มีสีแตกต่างกันได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนกระทั่งสีดำมีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก จนกระทั่งใหญ่เป็นเซนติเมตรก็ได้ ตุ่มมีลักษณะพิเศษ คือ ดูคล้ายตุ่มนั้นแปะบนผิวหนัง เกิดได้ทุกตำแหน่งในร่างกาย แต่มักพบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง

ภาพประกอบเคส

กระเนื้อ เป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น เป็นผลจากการเจริญผิดปกติของผิวหนังส่วนบนลักษณะเป็นตุ่มแบน หรือติ่งเนื้อนูนออกมา ผิวอาจดูขรุขระเล็กน้อย มีสีแตกต่างกันได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนกระทั่งสีดำมีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก จนกระทั่งใหญ่เป็นเซนติเมตรก็ได้ ตุ่มมีลักษณะพิเศษ คือ ดูคล้ายตุ่มนั้นแปะบนผิวหนัง เกิดได้ทุกตำแหน่งในร่างกาย แต่มักพบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง

สาเหตุ เช่น ฮอร์โมนเพราะมักพบระหว่างตั้งครรภ์ หรือการโดนแสงแดดเป็นเวลานาน

การรักษา

  1. จี้ไฟฟ้า ก่อนจี้จะต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดทาบริเวณรอยโรค แล้วจี้ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า หลังจากนั้นขูดเนื้อเยื่อบริเวณที่จี้ออก วิธีนี้จะมีแผลตื้น ๆ บริเวณที่ขูดซึ่งจะหายภายใน 1 สัปดาห์
  2. จี้ด้วยสารเคมี เช่น กรดไตรคลออะซิติค วิธีนี้ไม่ต้องใช้ยาชา แต่จะมีอาการแสบบ้างบริเวณตำแหน่งที่จี้ การจี้จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายและหลุดออก ข้อเสีย คือ ถ้ากระเนื้อหนามากอาจหลุดไม่หมด หรือต้องจี้หลายครั้ง
  3. จี้ด้วยไนโตรเจนเหลว วิธีนี้จะทำให้เกิดตุ่มน้ำพองขึ้นใต้รอยโรค ซึ่งต่อไปจะแห้งเป็นสะเก็ดแล้วหลุดไปใน 2-3 สัปดาห์ ข้อเสียคือบางครั้งอาจเกิดรอยดำหรือขาวหรือแผลเป็นบริเวณรอยโรค สำหรับรอยดำหรือขาวที่เกิดจะจางไปได้ตามเวลา

กระเนื้อไม่มีอันตราย แต่หากมีปริมาณมากอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจ หากพบการเปลี่ยนแปลง เช่น ปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รูปร่างหรือสีเปลี่ยนไป ควรพบแพทย์ผิวหนัง

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3E0f5uH


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท