Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

รู้ = รอด ก้าวพ้นนาทีชีวิต


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

31-10-2022 10:17

การลดความสูญเสียจากการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่ต้องเรียนรู้วิธีที่ถูกต้อง เพราะหากไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจวิธีการช่วยเหลือ อาจกลายเป็นการซ้ำเติมให้การเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นเลวร้ายลงกว่า เดิมได้สาเหตุนี้ทำให้เราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐาน ในการช่วยเหลือผู้อื่น

ภาพประกอบเคส

การลดความสูญเสียจากการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่ต้องเรียนรู้วิธีที่ถูกต้อง เพราะหากไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจวิธีการช่วยเหลือ อาจกลายเป็นการซ้ำเติมให้การเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นเลวร้ายลงกว่า เดิมได้สาเหตุนี้ทำให้เราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐาน ในการช่วยเหลือผู้อื่น

“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดบาดแผลฉีกขาด ไฟไหม้ เสียเลือด กระดูกหัก หมดสติ การบรรเทาอาการ หรือช่วยเหลือ เบื้องต้นในแต่กรณีนั้น มีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่ควรทำเมื่อพบเหตุฉุกเฉิน

  1. ตั้งสติ ประเมินสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง จะทำให้ ผู้ประสบเหตุและผู้ช่วยเหลือปลอดภัยที่สุด
  2. โทรแจ้ง 1669 แจ้งข้อมูลเหตุการณ์ที่พบอย่าง ละเอียด แจ้งสถานที่ชัดเจน ให้เบอร์ติดต่อกลับ
  3. ช่วยเหลือเบื้องต้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ห้ามเลือดกรณีเกิดบาดแผล การปั๊มหัวใจกรณีหยุดหายใจ
  4. กรณีช่วยผู้ป่วยหมดสติ ให้ดูสถานการณ์รอบตัวผู้ป่วยว่าปลอดภัยไหม จากนั้นเข้าไปเขย่าตัวผู้ป่วยที่ หมดสติเบา ๆ เพื่อเช็กการรู้ตัว กรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ ให้ขยับตัวผู้ประสบเหตุให้น้อยที่สุด เพราะการขยับตัวนั้น อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำที่สันหลัง เว้นแต่ขยับให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งขึ้น
  5. ตรวจดูการหายใจ เอียงหูแนบใกล้ปากและจมูกผู้ป่วยที่หมดสติ เพื่อฟังเสียงหายใจ ใช้แก้มเป็นตัวรับสัมผัสลมหายใจที่อาจจะออกมาจากปากหรือจมูก สังเกตที่หน้าอกว่า มีสัญญาณกระเพื่อมตัวขึ้นลงเป็นจังหวะหรือไม่ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที

  6. หากปากขยับ แต่หน้าอกไม่ขยับ ให้เริ่มปั๊มหัวใจทันที

  7. หากหายใจปกติ ให้สังเกตอาการทุก ๆ 2 นาที และรอจนกว่าทีมฉุกเฉิน 1669 จะมาถึง
  8. หากหายใจไม่ปกติ ให้เริ่มปั๊มหัวใจทันที โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับมาเป่าปาก ช่วยหายใจ 2 ครั้ง และใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://www.thaihealth.or.th/?p=313526


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท