Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ฟันผุ สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

31-10-2022 10:02

“ฟันผุ”สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ในบางรายอาจจะไม่มีอาการปวด หรือ เสียวฟัน แต่ก็ไม่ควรที่จะละเลย แม้ว่าฟันที่ผุจะเริ่มจากรูเล็ก ๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้

ภาพประกอบเคส

“ฟันผุ”สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ในบางรายอาจจะไม่มีอาการปวด หรือ เสียวฟัน แต่ก็ไม่ควรที่จะละเลย แม้ว่าฟันที่ผุจะเริ่มจากรูเล็ก ๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษา ก็จะกลายเป็นรอยผุที่ขยายใหญ่ขึ้นและอาจลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โดยเชื้อโรคจะลุกลามไปที่รากฟัน เกิดหนอง ส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น ตา โพรงไซนัส และสมอง หรืออาจจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งเชื้อโรค ยังสามารถแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดไปตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ รวมถึงสามารถส่งผลเสียต่อโรคหัวใจได้ด้วย

ฟันผุเกี่ยวข้องอย่างไรกับหัวใจ ? “สเตร็ปโตคอคคัส” คือ เชื้อโรคที่ทำให้เกิดฟันผุ ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวที่ตรวจพบที่เยื่อบุหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ ดังนั้น จึงเกิดการตื่นตัวในการป้องกันรักษาสุขภาพฟัน เพื่อไม่ให้โรคฟันผุไปทำให้โรคหัวใจทวีความรุนแรงขึ้นหรือมีผลเสียต่อโรคหัวใจ

อย่างไรก็ตามในทางวิทยาศาสตร์ยังไม่มีงานวิจัยที่รับรองว่า ฟันผุทำให้เกิดโรคหัวใจได้หรือไม่ แต่พบว่ามีผลเสียต่อโรคหัวใจ เมื่อใดที่มีเลือดออกในช่องปาก เชื้อแบคทีเรียในช่องปากจะสามารถเข้าไปในกระแสเลือดได้ และเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจมีอาการปวดฟันมาเข้ารับการรักษา อาจจะต้องให้ผู้ป่วยทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การดูแลสุขภาพฟันมีหลักใหญ่อยู่ 3 ประการ คือ

  • แปรงฟันให้สะอาดถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีน้ำตาลผสมเยอะ
  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุกๆ 6 เดือน
  • เมื่อฟันผุส่งผลเสียต่อร่างกายแบบนี้แล้ว ก็ควรหันมาใส่ใจปัญหาช่องปากกันให้มากเข้าไว้ เพื่อจะได้มีฟันไว้ใช้งานได้นาน ๆ

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3DnDQAl


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท