Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เมื่อลูกน้อยก้าวสู่วัย 2 ขวบ


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

14-03-2022 10:44

ช่วง 3 ขวบปีแรกของลูก เป็นวัยที่มีพัฒนาการและการเรียนรู้แบบก้าวกระโดด ดังนั้นการเปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจและลงมือทำจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณแม่จึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าลูกในวัย 2 ขวบเป็นวัยที่พร้อมมากกับการเรียนรู้ในวิธีของตัวเอง

ภาพประกอบเคส

ช่วง 3 ขวบปีแรกของลูก เป็นวัยที่มีพัฒนาการและการเรียนรู้แบบก้าวกระโดด ดังนั้นการเปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจและลงมือทำจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณแม่จึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าลูกในวัย 2 ขวบเป็นวัยที่พร้อมมากกับการเรียนรู้ในวิธีของตัวเอง

  1. วัยร้ายวัย 2 ขวบ (Terrible Two) เด็กจะมีพัฒนาแบบก้าวกระโดด ทั้งความคิด การเรียนรู้ อารมณ์ และการเข้าสังคม บวกกับเป็นวัยที่ “มีตัวตน” อย่างชัดเจน อยากทำอะไรด้วยตัวเอง ซึ่งหลายครั้งที่เขาทำไม่ได้ ไม่ถูกใจจะหงุดหงิดจนกลายเป็นอารมณ์ร้ายที่เราต้องช่วยกันปรับและรับมือ แต่เราสามารถดึงศักยภาพของเขาได้มากหากเปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจและลงมือทำ โดยพ่อแม่มีหน้าที่สำคัญในการโฟกัสว่าลูก “เรียนรู้อย่างไร” มากกว่า “เรียนรู้อะไร” เพื่อส่งเสริมได้อย่างถูกต้อง
  2. “เรียนรู้อย่างไร” สำคัญกว่า “เรียนรู้อะไร” เราสามารถปลูกฝังการเรียนรู้ให้ลูกผ่านการเล่นและกิจวัตรประจำวัน โดยทุกการเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคนและเต็มไปด้วยความสนุก เพื่อทำให้ลูกเข้าใจได้ว่าการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ไม่มีอะไรยาก การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่มีลักษณะเฉพาะตามบุคลิกและพฤติกรรมนี้เองที่จะเป็นกุญแจสำคัญให้พ่อแม่ปูทางพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกได้อย่างถูกต้อง
  3. ซ้ำแล้วซ้ำเล่า... ย้ำทุกการเรียนรู้ การที่เด็กทำสิ่งหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่มีเบื่อ คือ การเรียนรู้ที่เรียกว่า Schemas หรือ สคีมา เป็นรูปแบบการทำซ้ำ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เด็กใช้เชื่อมโยงกับการเล่น การสำรวจสิ่งใหม่ๆ จนกลายเป็นลักษณะหรือวิธีเรียนรู้เฉพาะตัวของแต่ละคน เป็นรากฐานของการพัฒนาความคิดและการเรียนรู้ต่อไป
  4. เรียนรู้ได้แจ่มขึ้นถ้าสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ สุขภาพดีรอบด้านเป็นปัจจัยหนึ่งที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นรากฐานในการต่อยอดพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ เชื่อมโยงการเรียนรู้ตามช่วงวัย หากลูกกินอิ่ม กินดี หลับสบาย ก็จะมีพัฒนาการสมวัย มีพลังในการเล่น สำรวจ และเรียนรู้นั่นเอง
  5. ลูกเราไม่เหมือนใคร สังเกตให้ดีและส่งเสริมให้ถูกต้อง เด็กแต่ละคนมีบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวต่างกัน นั่นจึงทำให้ความชอบและรูปแบบการเรียนรู้ของเขาต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นวิธีที่ใช้กับเด็กคนหนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กอีกคน สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งและเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกคือ ให้เวลาและเปิดโอกาสให้ลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการเล่น วิธีนี้จะช่วยให้พวกเขาค้นหาวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตัวเองได้

ที่มา : รักลูก
https://www.rakluke.com/child-development-all/toddler-development/item/shrewsbury-city-campus.html


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท