Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นเหา


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

25-10-2022 11:15

เด็กเล็กและเด็กประถม มักมีกิจกรรมหรือการเล่นใกล้ชิดกันเป็นพิเศษทำให้พบโรคเหาในเด็กมากกว่าในวัยอื่น ๆ เหาไม่สามารถกระโดดหรือบินจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง แต่ติดต่อทางสัมผัส ใกล้ชิด เช่น เด็กที่เล่นใกล้ชิดกัน การใช้หมวก หวี หูฟัง ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือนอน เตียงเดียวกัน

ภาพประกอบเคส

เด็กเล็กและเด็กประถม มักมีกิจกรรมหรือการเล่นใกล้ชิดกันเป็นพิเศษทำให้พบโรคเหาในเด็กมากกว่าในวัยอื่น ๆ เหาไม่สามารถกระโดดหรือบินจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง แต่ติดต่อทางสัมผัส ใกล้ชิด เช่น เด็กที่เล่นใกล้ชิดกัน การใช้หมวก หวี หูฟัง ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือนอน เตียงเดียวกัน

แนวทางการรักษา

  • ใช้ยาฆ่าเหาแบบทา ยาชื่อเพอร์เมทริน ความเข้มข้น 1% เป็นยาที่แนะนำให้เลือกใช้ตัวแรก เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี โดยทาลงบนผมที่แห้งให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 10 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเมื่อครบ 1 สัปดาห์
  • สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหากลุ่มยาฆ่าเหาได้ อาจใช้สมุนไพร เช่น ใบน้อยหน่า ผิวมะกรูด ตำหรือบดให้ละเอียด ใช้หมักผม และหนังศีรษะ แต่มีประสิทธิภาพด้อยกว่ายาฆ่าเหา
  • ใช้หวีเสนียด หวีผมทุก ๆ 3 วัน ต่อเนื่องกัน 4-5 ครั้ง ทั้งนี้ควรใช้ควบคู่กับวิธีอื่น
  • ยารับประทานใช้ในกรณีรักษาด้วยยาทาไม่ได้ผลและควรใช้ภายใต้การแนะนำของแพทย์เท่านั้น

การรักษาเหาภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพและช่วยลดปัญหาการดื้อยาได้

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3eYKgOk


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท