3 สัญญาณวัยทอง หญิงวัย 45 ขึ้นไปต้องรับมือ
หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
25-10-2022 10:53
เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงอายุ 45 – 55 ปี สตรีในช่วงใกล้หมดและหลังหมดประจำเดือน จะพบการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของรังไข่ที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิงลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ จนถึงหมดประจำเดือน ถ้าประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี แสดงว่ารังไข่ ได้หยุดทำงานแล้ว ถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์
เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงอายุ 45 – 55 ปี สตรีในช่วงใกล้หมดและหลังหมดประจำเดือน จะพบการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของรังไข่ที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิงลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ จนถึงหมดประจำเดือน ถ้าประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี แสดงว่ารังไข่ ได้หยุดทำงานแล้ว ถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์
ปัญหาสุขภาพที่บ่งบอกว่าเป็นอาการวัยทอง สังเกตได้จาก 3 สัญญาณ ดังนี้
- จะมีอาการร้อนวูบวาบตามตัวและหน้าอก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน
- ช่องคลอดแห้ง ผิวหนังแห้ง ปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอนไม่หลับ ความต้องการและความรู้สึกทางเพศลดลง
- โรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามอายุ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
การดูแลสุขภาพเพื่อรับมือกับการเข้าสู่สตรีวัยทอง สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 วิธี คือ
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง อาทิ นม โยเกิร์ต งาขาว งาดำ ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับเข้าไปจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูก เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน และกินอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจน ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง โดยเฉพาะถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในปริมาณพอเหมาะจะช่วยลดอาการร้อนวูบวาบของสตรีวัยหมดประจำเดือนได้
- ลดอาหารประเภทแป้ง อาหารมัน อาหารทอด อาหารเค็ม น้ำหวาน ชา กาแฟ หรืออาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะอาจทำให้อารมณ์แปรปรวน และกระวนกระวายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และให้ร่างกายได้รับแสงแดดบ้าง เพื่อช่วยในการสร้างวิตามินดี ซึ่งมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ รำมวยจีน เมื่ออายุมากขึ้น ไม่ควรออกกำลังกายที่ใช้แรงกระแทก โดยเฉพาะข้อเข่าที่รับน้ำหนักมาก อาจเป็นสาเหตุของข้อเข่าเสื่อม
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง จะช่วยเพิ่มความจำ ทำให้มีสุขภาพดี มีอายุยืนยาว 5. รู้จักผ่อนคลายความเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส
ทั้งนี้ หากพบว่าอาการดังกล่าวมีความรุนแรงขึ้น หรือ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถเข้ารับบริการคลินิกวัยทอง คลินิกส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งจะมีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการวัยทอง และให้บริการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลและไขมันในเลือด ตรวจความหนาแน่นของกระดูก ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม เพื่อประเมินอาการ รับคำแนะนำแนวทางการป้องกัน รักษา และดูแลตนเองที่ถูกต้อง ตามความเหมาะสมต่อไป
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/181065/