Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ลงโทษลูกด้วยความรัก ไม่สร้างบาดแผลทางใจ


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

21-10-2022 09:24

การลงโทษทุกครั้งเมื่อลูกทำผิด ลูกจะรับรู้และสัมผัสได้ว่าการลงโทษของพ่อแม่ เป็นการลงโทษด้วยอารมณ์โกรธหรือความรัก เป็นการลงโทษด้วยอารมณ์ชั่ววูบหรือระงับโทสะไม่ได้ และหลังจากการลงโทษลูกจะกลายเป็นภาพฝังใจลูกไปตลอดชีวิต โปรดลงโทษลูกด้วยความรักมิใช่ความโกรธ

ภาพประกอบเคส

การลงโทษทุกครั้งเมื่อลูกทำผิด ลูกจะรับรู้และสัมผัสได้ว่าการลงโทษของพ่อแม่ เป็นการลงโทษด้วยอารมณ์โกรธหรือความรัก เป็นการลงโทษด้วยอารมณ์ชั่ววูบหรือระงับโทสะไม่ได้ และหลังจากการลงโทษลูกจะกลายเป็นภาพฝังใจลูกไปตลอดชีวิต โปรดลงโทษลูกด้วยความรักมิใช่ความโกรธ

พ่อแม่หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงการลงโทษลูกด้วยการตี แล้วหันมาตวาดหรือตะโกนใส่ลูกแทน การทำเช่นนั้นเป็นเหมือนการปิดประตูการสื่อสาร เด็กที่มักโดนพ่อแม่ตะคอกอยู่เสมอมีแนวโน้มจะมีปัญหาด้านพฤติกรรม มีอาการซึมเศร้า และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่มีความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

วิธีที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุด คือก่อนที่จะลงโทษ พ่อแม่ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้านก่อน เป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ รวมไปถึงวินัย และการอยู่ร่วมกันในครอบครัว ถ้าลูกไม่ทำตามกฎกติกาผลที่ตามมาก็คือถูกลงโทษด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

การกำหนดกฎเกณฑ์กติกาภายในบ้าน เริ่มด้วยวิธีง่ายๆ ได้ดังนี้

  1. กฎ กติกา ต้องชัดเจน ปฏิบัติได้ และเข้าใจง่าย
  2. เมื่อโตพอควรให้ลูกมีส่วนร่วม ในการกำหนดกฎกติกาภายในบ้านด้วย
  3. กฎกติกาต้องมีเหตุผล เหมาะสมกับวัยของเด็กที่จะปฏิบัติได้ ไม่บังคับให้เด็กทำตามความต้องการของพ่อแม่
  4. ควรสร้างทางเลือก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือก หรือตัดสินใจด้วยตนเอง
  5. เมื่อวางกฎกติกาแล้ว ต้องใช้และยึดถืออย่างสม่ำเสมอ
  6. สร้างขั้นตอนของการทำโทษเมื่อผิดกฎกติกา เริ่มจากเตือนทันทีเมื่อลูกทำผิดกฎ หรือกำหนดบทลงโทษเป็นขั้นตอน โดยต้องรับรู้ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูกตั้งแต่แรก
  7. ชื่นชมเมื่อลูกปฏิบัติได้ตามกฎ กติกาที่วางไว้พ่อแม่ต้องจัดการอารมณ์ของตัวเองก่อน ถ้ากรณีที่ลูกไม่เชื่อฟัง ต้องมีเทคนิคในการลงโทษที่เหมาะสมกับวัยด้วย

หากลูกไม่ปฏิบัติตาม พ่อแม่ต้องเตือนว่าลูกกำลังฝ่าฝืนกฎด้วยท่าทีที่อ่อนโยน ไม่ใช่น้ำเสียงที่ดุดัน หากลูกไม่เชื่อฟังและเริ่มท้าทาย พ่อแม่ก็อย่าเพิ่งอารมณ์เสีย ขอให้ควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อน

ที่มา : สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
https://th.rajanukul.go.th/preview-3562.html


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท