Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

แตกต่างอย่างเข้าใจ เมื่อลูกเป็น LGBTQ+


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

21-10-2022 08:04

ปัจจุบันสังคมเริ่มให้การยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศ และรู้จักกับคำนี้เพิ่มมากขึ้น ผู้คนเริ่มกล้าที่จะยอมรับและเปิดเผยตัวตนกับสังคม แต่ด้วยขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน จึงอาจไม่ใช่ทั้งหมดของสังคมที่จะเปิดใจยอมรับ

ภาพประกอบเคส

ปัจจุบันสังคมเริ่มให้การยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศ และรู้จักกับคำนี้เพิ่มมากขึ้น ผู้คนเริ่มกล้าที่จะยอมรับและเปิดเผยตัวตนกับสังคม แต่ด้วยขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน จึงอาจไม่ใช่ทั้งหมดของสังคมที่จะเปิดใจยอมรับ

สิทธิของเด็กทุกคนที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ ผิว ศาสนา ฯลฯ ดังนั้นไม่ว่าจะมีรสนิยมทางเพศแบบใด ทุกคนต่างมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ก่อนที่เด็กจะเกิดความมั่นใจในตัวตนของตนเองและกล้าที่จะใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างประสบความสำเร็จและมีความสุขนั้น ครอบครัว คือพื้นที่สำคัญของพวกเขาที่ต้องเปิดใจยอมรับก่อน พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น LGBTQ+

1. ศึกษา ทำความเข้าใจ

"ความหลากหลายทางเพศ ไม่ใช่โรค หรือความผิดปกติ" ไม่ใช่โรค แต่ต้องการความเข้าใจจากครอบคัว เป็นสำคัญ เพื่อทำให้ลูกได้รู้จักกับสิ่งที่ตัวเองเป็น คอยสังเกตพฤติกรรม และช่วยรับฟังแก้ไขปัญหาที่ลูกต้องเผชิญทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สอนให้ลูกปกป้องตนเองจากการโดนละเมิดหรือกลั่นแกล้ง

2. พูดคุยกับลูกอย่างเปิดใจ

การที่จะทำให้ลูกรู้สึกสบายใจและเปิดใจกล้าพูดคุยปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่ การที่พ่อแม่แสดงออกถึงทัศนคติที่ดี พูดคุยเรื่องเพศกับลูกด้วยทัศนคติเชิงบวก รับฟังสิ่งที่ลูกต้องการอย่างตั้งใจ รวมถึงเรื่องทั่วไปกับลูกในชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ จะส่งผลให้ลูกกล้าเปิดใจคุยได้มากขึ้น นำไปสู่ความคิดเห็นที่สามารถยอมรับซึ่งกันและกันได้

3. ยอมรับ ในสิ่งที่ลูกเป็น

ลูกต่างต้องเติบโตและมีชีวิตเป็นของตนเอง การยอมรับจากครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข ครอบครัวสามารถเป็นพื้นที่ปลอดภัย หรือ Safe Zone สำหรับลูก ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าแปลกแยกหรือถูกกีดกันเพียงเพราะความแตกต่าง ส่งเสริมให้ลูกมองเห็นคุณค่าในตนเอง สร้างความมั่นใจที่จะกล้าเผชิญหน้ากับสังคมได้ในอนาคต

4. อยู่เคียงข้างเพื่อสนับสนุน

ให้โอกาสลูกได้เรียนรู้และตามหาตัวตนของตนเองโดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยห่วงใยและให้คำแนะนำ ชื่นชมเมื่อลูกทำในสิ่งที่ดีและอบรมสั่งสอนเมื่อเขาทำในสิ่งที่ผิด โดยไม่ใช้รูปลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศมาเป็นข้อติเตียน แต่สั่งสอนเขาในฐานะ "ลูก" คนหนึ่ง คอยอยู่เคียงข้างเพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจลูก

ที่มา : มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยฯ
https://www.sosthailand.org/blog/supporting-your-lgbtq-child


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท