Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสียและการตาย


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

11-10-2022 10:37

ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสีย โดยเฉพาะการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นปฏิกิริยาทางจิตใจที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่ต้องการความช่วยเหลือในการปรับตัวกับการสูญเสียนั้น ผู้ที่สูญเสีย จะมีอาการหลักคล้ายอาการของโรคซึมเศร้า คือ มีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด เบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าสังคม นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร นอกจากนี้อาจมีความรู้สึกผิด รู้สึกโกรธ ยอมรับความเป็นจริงของการสูญเสียไม่ได้

ภาพประกอบเคส

ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสีย โดยเฉพาะการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นปฏิกิริยาทางจิตใจที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่ต้องการความช่วยเหลือในการปรับตัวกับการสูญเสียนั้น ผู้ที่สูญเสีย จะมีอาการหลักคล้ายอาการของโรคซึมเศร้า คือ มีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด เบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าสังคม นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร นอกจากนี้อาจมีความรู้สึกผิด รู้สึกโกรธ ยอมรับความเป็นจริงของการสูญเสียไม่ได้

อาการที่แสดงว่าผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้าที่รุนแรงกว่าปฏิกิริยาปกติต่อการสูญเสีย

  1. รู้สึกผิดในเรื่องที่นอกเหนือจากสิ่งที่คิดว่าตนควรทำหรือไม่ควรทำในช่วงที่ผู้ตายเสียชีวิต
  2. คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับความตาย นอกเหนือจากความรู้สึกอยากตายแทน หรือตายไปพร้อมกับผู้เสียชีวิต
  3. คิดหมกมุ่นว่าตนไร้ค่า ไม่มีความหมาย
  4. มีการเคลื่อนไหวและความคิดช้าอย่างชัดเจน
  5. มีการบกพร่องของการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ทั้งทางสังคมและการงานอย่างมากเป็นเวลานาน
  6. มีอาการประสาทหลอน นอกเหนือไปจากการคิดว่าได้ยินเสียง หรือเห็นภาพของผู้ตายเป็นช่วงขณะสั้นๆ ซึ่งอาจพบได้ในปฏิกิริยาปกติ

การรักษา

  1. การให้การปรึกษา เพื่อช่วยให้ปรับตัวต่อการสูญเสียได้ตามที่ควรจะเป็น เกิดการยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ เกิดการปรับตัวกับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการสูญเสีย และสามารถตัดใจจากผู้ที่จากไป จนเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้อย่างปกติสุข
  2. การรักษาด้วยยา ปกติไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หรือมีอาการตึงเครียดมาก อาจให้ยาคลายกังวลกลุ่ม benzodiazepine ในขนาดที่ไม่สูงนัก เช่น diazepam 5 มก. ก่อนนอน ส่วนยาแก้เศร้าไม่นิยมใช้ นอกจากมีอาการรุนแรงถึงขั้นที่ให้การวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/06052015-1333


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท