Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ตาเข ตาเหล่ในเด็ก รู้ก่อนรักษาได้


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

11-10-2022 09:51

โรคตาเหล่ ตาเข คือ ภาวะที่การมองของตาทั้งสองข้างไม่ได้อยู่ในทิศทางเดียวกันและทำงานไม่ประสานกัน ผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติจ้องมองวัตถุ ส่วนตาข้างที่เหล่อาจจะเบนเข้าด้านในหรือด้านนอก ขึ้นบนหรือลงล่างก็ได้

ภาพประกอบเคส

โรคตาเหล่ ตาเข คือ ภาวะที่การมองของตาทั้งสองข้างไม่ได้อยู่ในทิศทางเดียวกันและทำงานไม่ประสานกัน ผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติจ้องมองวัตถุ ส่วนตาข้างที่เหล่อาจจะเบนเข้าด้านในหรือด้านนอก ขึ้นบนหรือลงล่างก็ได้

สาเหตุของภาวะตาเข ตาเหล่

  • เกิดจากพันธุกรรม
  • ความผิดปกติของสายตา
  • กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต
  • ประสบอุบัติเหตุ
  • เนื้องอก
  • ต้อกระจก
  • ภาวะอื่นๆ ที่ทำให้การมองเห็นเสียไป

วิธีการรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของโรค ตาเหล่บางชนิดสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด บางชนิดรักษาโดยการผ่าตัดเท่านั้น หรืออาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน

คุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจว่าโรคตาเหล่ ตาเขในเด็กสามารถหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะภาวะดังกล่าวอาจไม่สามารถหายได้เอง ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในระยะเวลาที่เหมาะสม อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการมองเห็นอย่างถาวร

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมในการมองเห็นของบุตรหลาน ซึ่งเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 1 – 3½ ปี ควรได้รับการตรวจสายตากับจักษุแพทย์ก่อนวัยเข้าเรียนจะช่วยป้องกันปัญหาได้ และหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาเข ตาเหล่ หรือผู้ปกครองเห็นว่าบุตรหลานมีภาวะตาเข ตาเหล่ ควรรีบนำมาพบจักษุแพทย์

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://www.thaihealth.or.th/?p=234280


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท