Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

Verbal abuse หนึ่งในความรุนแรงที่ไม่ควรมองข้าม


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: สุขภาพใจ

11-10-2022 08:48

Verbal abuse คือ การทำร้ายจิตใจทางคำพูด เป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำร้ายที่พบได้ในทุกความสัมพันธ์และในทุกสังคม โดยมักจะมาในรูปแบบของการใช้คำพูดเพื่อทำร้ายความรู้สึก เพื่อควบคุมหรือทำให้ผู้ฟังรู้สึกต้อยต่ำ ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ ทำเพื่อให้รู้สึกโง่ ไม่มีค่า

ภาพประกอบเคส

Verbal abuse คือ การทำร้ายจิตใจทางคำพูด เป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำร้ายที่พบได้ในทุกความสัมพันธ์และในทุกสังคม โดยมักจะมาในรูปแบบของการใช้คำพูดเพื่อทำร้ายความรู้สึก เพื่อควบคุมหรือทำให้ผู้ฟังรู้สึกต้อยต่ำ ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ ทำเพื่อให้รู้สึกโง่ ไม่มีค่า

สิ่งที่จะช่วยแยกระหว่างการถกเถียงความขัดแย้งทั่วไปกับการทำร้ายจิตใจด้วยคำพูด ได้แก่

การถกเถียงความขัดแย้งทั่วไป

  • การถกเถียงทะเลาะด้วยความขัดแย้งทั่วไปจะไม่เกิดขึ้นติดกันทุกวัน มักไม่ใช่การเอาชนะอีกฝ่าย ไม่เกิดการข่มขู่หรือลงโทษกันในภายหลัง
  • การถกเถียงทะเลาะจะจบลงอย่างรวดเร็ว ไม่ยืดเยื้อ กินเวลาน้อย

การทำร้ายจิตใจทางคำพูด

  • การทำร้ายจิตใจทางคำพูดจะมาในรูปแบบของการใช้คำพูดดูถูกหรือทำให้ผู้ถูกกระทำอับอาย เสียใจ ผู้กระทำจะโทษว่าเป็นเพราะความอ่อนแอของผู้ถูกกระทำเอง และตัวผู้กระทำแค่พูดเล่นเท่านั้น
  • ผู้กระทำอาจตะคอกบ่อยครั้ง ชอบชวนทะเลาะอย่างไม่มีสาเหตุและวนเวียนไม่รู้จบ
  • ใช้คำพูดปั่นหัว ข่มขู่ วิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกผิดและให้ตัวเองรับบทเหยื่อ
  • ผู้กระทำบางคนทวงบุญคุณ อ้างว่าตนเองดีแค่ไหนแล้วที่ไม่ลงมือทำร้ายร่างกายผู้ถูกกระทำอีกด้วย

การทำร้ายจิตใจด้วยคำพูดอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ประสิทธิภาพในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และหากถูกทำร้ายจิตใจเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจได้ อาทิ

  • รู้สึกผิด สิ้นหวังและละอายใจ
  • เกิดภาวะวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า
  • เกิดภาวะเครียดเรื้อรัง
  • การรับรู้คุณค่าของตนเองลดลง
  • เกิดอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์รุนแรง (PTSD)
  • มีภาวะตัดขาดจากสังคม อันเนื่องมาจากความผิดปกติทางอารมณ์และความมั่นใจในตัวเองที่ลดลง
  • มองโลกในแง่ร้าย โทษตัวเอง
  • มองว่าความรุนแรงที่เกิดกับตนเป็นเรื่องปกติ เพราะตนเองถูกกระทำมาเป็นเวลานาน อาจมีแนวโน้มหรืออาจกลายเป็นผู้ส่งต่อความรุนแรงกระทำในอนาคต

หากสังเกตเห็นหรือรู้สึกว่าตนเองกำลังเผชิญกับผู้ที่ทำร้ายจิตใจด้วยคำพูด ควรตระหนักว่าไม่จำเป็นต้องพยายามหาเหตุผลหรือความชอบธรรมให้กับพฤติกรรมของผู้กระทำ ควรหันกลับมาดูแล ใส่ใจความรู้สึกของตนเอง ยอมรับ ทำความเข้าใจรับรู้เท่าทันความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์ต่าง ๆ หาเวลาดูแลสุขภาวะของตนเองคลายเครียดระหว่างวันอยู่เสมอ และหากทำได้ อาจพูดคุยกับผู้กระทำโดยตรงถึงขอบเขตของการใช้คำพูดในการวิจารณ์ การดูถูกหรืออื่น ๆ

ที่มา : sherothailand
https://bit.ly/3EvMkaS


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท