การใช้ชีวิตในช่วงน้ำท่วมให้ปลอดภัยจากโรค
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
04-10-2022 09:48
สถานการณ์น้ำท่วม นอกจากความเสียหายในทรัพย์สินแล้ว ยังมีเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องระวัง โดยปัญหาที่พบบ่อยในสถานการณ์น้ำท่วมก็คือ ปัญหาของน้ำกัดเท้า ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง เปื่อย และทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ผิวหนังจะเปื่อยจากการโดยน้ำ ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเติบโตได้ง่าย
สถานการณ์น้ำท่วม นอกจากความเสียหายในทรัพย์สินแล้ว ยังมีเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องระวัง โดยปัญหาที่พบบ่อยในสถานการณ์น้ำท่วมก็คือ ปัญหาของน้ำกัดเท้า ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง เปื่อย และทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ผิวหนังจะเปื่อยจากการโดยน้ำ ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเติบโตได้ง่าย
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังจากที่แช่น้ำ
ควรทำความสะอาด ฟอกสบู่บริเวณที่แช่น้ำ หากผิวหนังแค่ระคายเคืองให้เช็ดให้แห้ง แต่หากผิวหนังเริ่มเปื่อยแล้วหลังฟอกสบู่เสร็จควรใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน แอลกอฮอล์ ฯลฯ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือเชื้อราที่จะทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมา
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม
- ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ หากจำเป็นหลังจากแช่น้ำต้องทำความสะอาดฟอกสบู่เพื่อฆ่าเชื้อโรค และเช็ดให้แห้งสนิท อาจมีการใส่ยาฆ่าเชื้อประเภทเบตาดีน แอลกอฮอล์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในเบื้องต้น
- สำหรับเด็กๆ ที่ชอบลงไปเล่นน้ำตอนน้ำท่วม ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก เพราะ นอกจากร่างกายจะแช่น้ำเป็นเวลานานแล้ว น้ำอาจจะเข้าปากเสี่ยงต่อการเกิดโรคท้องเสียท้องร่วงตามมา ผู้ปกครองจึงควรดูแลลูกหลานอย่าให้เล่นน้ำท่วมขังจะดีที่สุด
- การเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วม ต้องมีการป้องกันที่ดีและเหมาะสม เช่น การสวมชุดกันน้ำ
- การอยู่ร่วมกันในปริมาณมากหรือแออัด มีโอกาสที่จะติดเชื้อจากโรคติดต่อ โรคทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน รวมทั้งควรแยกผู้ป่วยออกจากคนปกติ เพื่อไม่ให้ติดต่อโรคกัน
- ผู้ประสบภัยทุกคนควรรับประทานอาหารปรุงสุกอยู่เสมอ
หลังน้ำลดแล้วย่าเพิ่งไว้วางใจ
หลังน้ำลดอาจมีสัตว์ร้ายที่มากับน้ำท่วม เช่น ตะขาบ รวมไปถึงเชื้อราบนพื้น จึงยังไม่ควรใช้ผิวหนังสัมผัสโดยตรง ตรวจสอบความเรียบร้อยภายในบ้าน อย่างภาชนะที่อาจมีน้ำขัง ก็ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ สุดท้ายเอาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ออกมาตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค และเปิดหน้าต่างบ้านให้อากาศถ่ายเท ให้แดดเข้าถึง ก็ช่วยให้ปลอดภัยไปได้อีกขั้น
ที่มา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3LXDlkF