Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

27-09-2022 13:25

โรคซึมเศร้า เป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจโรคหนึ่ง ทำให้รู้สึกไม่มีความสุข ซึมเศร้า จิตใจหม่นหมอง หมดความกระตือรือรน เบื่อหน่าย แยกตัวเอง ชอบอยู่เงียบๆ คนเดียว ท้อแท้ บางครั้งมีความรู้สึกสิ้นหวัง มองชีวิตไม่มีคุณค่า มองตนเองไร้ค่า เป็นภาระต่อคนอื่น ถ้ามีอาการมากจะมีความรู้สึกเบื่อชีวิต คิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัวตาย

ภาพประกอบเคส

โรคซึมเศร้า เป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจโรคหนึ่ง ทำให้รู้สึกไม่มีความสุข ซึมเศร้า จิตใจหม่นหมอง หมดความกระตือรือรน เบื่อหน่าย แยกตัวเอง ชอบอยู่เงียบๆ คนเดียว ท้อแท้ บางครั้งมีความรู้สึกสิ้นหวัง มองชีวิตไม่มีคุณค่า มองตนเองไร้ค่า เป็นภาระต่อคนอื่น ถ้ามีอาการมากจะมีความรู้สึกเบื่อชีวิต คิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัวตาย

สาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

  1. สาเหตุทางร่างกาย
  2. โรคทางกาย เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคตอมไทรอยด์ มะเร็งของตับอ่อน เป็นต้น
  3. ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ยาขับปัสสาวะ ยารักษามะเร็ง เป็นต้น

  4. สาเหตุทางจิตใจ
    €- สารสื่อประสาทบางชนิดในสมองลดลง
    €- ปัญหาต่างๆ ในชีวิตที่มีผลต่อความเครียด การสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก หรือภาวะที่ทำให้เกิดความเสียใจ ไม่สบายใจหรือเกิดความเป็นทุกข์ทางใจ

การสังเกตผู้สูงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า

  1. มีอาการกระสับกระส่าย ใจสั่น หรือมีความรู้สึกไม่สบายตามร่างกาย แต่เมื่อรับการตรวจสุขภาพกายด้านอื่นแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ
  2. มีอารมณ์เศร้า ไม่อยากทำอะไร นอนไม่หลับหรือหลับมากกว่าปกติ รู้สึกตนเองไร้ค่า
  3. ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้อง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ท้องเฟ้อ หรืออาการลำไส้ทำงานผิดปกติที่เรียกว่ากลุ่มมีอาการขับถ่ายอุจจาระกระปริดกระปรอย

การรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

  1. การรักษาด้วยยามักต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป จึงจะเห็นผลการรักษา
  2. จิตบำบัดแบบประคับประคองด้านจิตใจ
  3. พฤติกรรมบำบัด เพื่อแก้ไขความคิดในด้านลบต่อตนเอง
  4. การรักษาทางจิตใจด้านอื่นๆ ตามความจำเป็นในการรักษา เช่น การให้คำปรึกษา การทำครอบครัวบำบัด
  5. การรักษาด้วยไฟฟ้าในรายที่อาการหนัก ไม่ตอบสนองต่อวิธีอื่นๆ

ที่มา : คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามโรค (สำหรับประชาชน) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข https://bit.ly/3fhUpFr


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท