Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เลือกยาสีฟันอย่างไรดี


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

27-09-2022 12:39

ไม่มียาสีฟันชนิดใดที่จะผลิตมาให้เหมาะกับทุกคน เพราะแต่ละคนมีปัญหาในช่องปากที่แตกต่างกันไป โรคที่เกิดในช่องปากต่าง ๆ จะเกิดจากเชื้อโรคต่างชนิดกัน แต่แหล่งที่เชื้อโรคสะสมอยู่เป็นที่เดียวกันหมด คือ ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ (plaque) ซึ่งจะถูกกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างถูกวิธี โดยมียาสีฟันเป็นตัวช่วยให้การแปรงฟันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาพประกอบเคส

ไม่มียาสีฟันชนิดใดที่จะผลิตมาให้เหมาะกับทุกคน เพราะแต่ละคนมีปัญหาในช่องปากที่แตกต่างกันไป โรคที่เกิดในช่องปากต่าง ๆ จะเกิดจากเชื้อโรคต่างชนิดกัน แต่แหล่งที่เชื้อโรคสะสมอยู่เป็นที่เดียวกันหมด คือ ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ (plaque) ซึ่งจะถูกกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างถูกวิธี โดยมียาสีฟันเป็นตัวช่วยให้การแปรงฟันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่วนประกอบพื้นฐานในยาสีฟัน

  • ฟลูออไรด์ (Fluoride) ปริมาณไม่เกิน 1,000 ppm (ตามข้อกำหนดของ อย. หรือ ADA) โดยจะเข้าไปทำให้เคลือบฟันแข็งแรง ป้องกันการถูกกัดกร่อนจากกรดที่เชื้อแบคทีเรียสร้างขึ้น
  • สารขัดฟัน (Mild Abrasive) เป็นผงละเอียดช่วยกำจัดคราบอาหารและคราบสีบนตัวฟัน
  • สารเพิ่มความชื้น (Humectants)
  • สารเพิ่มความข้นหนืด (Thickening Agent or Binder)
  • สารชำระล้าง (Detergent) ทำให้เกิดฟอง
  • สารเพิ่มรส (Flavoring Agent) เป็นสารให้ความหวานแต่ไม่ทำให้ฟันผุ

สารปรุงแต่งอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในยาสีฟัน

  • สารลดการเสียวฟัน เช่น Potassium nitrate, Strontium chloride
  • สารลดการอักเสบของเหงือก เช่น Triclosan, Stannous fluoride, สมุนไพรต่าง ๆ
  • สารป้องกันการเกิดคราบหินปูน เช่น Pyrophosphates, Zinc citrate, Tricolsan
  • สารขจัดคราบบนตัวฟัน เช่น Modified silica abrasives or enzymes
  • สารช่วยซ่อมแซมผิวเคลือบฟัน เช่น Calcium Sodium phosphosilicate

การพิจารณาเลือกยาสีฟันที่เหมาะสม

ผู้ใช้ต้องทราบปัญหาในช่องปากที่มีอยู่ก่อน และใช้ยาสีฟันช่วยป้องกันเพิ่ม แต่ต้องใช้ควบคู่ไปกับการรักษาความสะอาดที่ถูกวิธีและไปพบหมอฟันตามปกติ ยาสีฟันที่คนอื่นบอกว่าดีนั้นอาจไม่เหมาะกับเราเสมอไป หากใช้แล้วเกิดอาการผิดปกติหลังจากใช้สักระยะหนึ่ง เช่น การรับรสอาหารเปลี่ยนไป เยื่อบุช่องปากหรือริมฝีปากแห้งหรือแดง เยื่อบุช่องปากลอกเป็นเยื่อขาว ๆ ปวดแสบปวดร้อนเวลาทานอาหารรสจัด ปวดไปทั้งปากโดยไม่สามารถระบุซี่ฟันได้ ฯลฯ ควรหยุดและเปลี่ยนยาสีฟันทันที ดังนั้นจึงควรทดลองใช้ยาสีฟัน จนพบยาสีฟันที่เหมาะกับเรา

ที่มา : สภากาชาดไทย
https://redcross.or.th/news/infographics/17951/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท