แผลสด กับ ยาปฏิชีวนะ
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
27-09-2022 12:22
แผลสดหมอจะจ่ายยาปฏิชีวนะให้
แผลสดหมอจะจ่ายยาปฏิชีวนะให้
- บาดแผลที่มีลักษณะของการติดเชื้อแล้ว คือ มีการอักเสบบวมแดงหรือเป็นหนอง
- บาดแผลที่ได้รับการรักษาช้า คือ ตั้งแต่ 6-9 ชั่วโมงหลังเกิดบาดแผล
- แผลทิ่มต่ำเป็นรู รวมทั้งแผลสุนัขกัด ที่มีลักษณะทิ่มตำเป็นรู
- แผลในบริเวณที่การไหลเวียนเลือดไม่ดี เช่น เป็นบริเวณที่มีการบวม หรือ เป็นแผลในผู้ที่เป็นโรคของเส้นเลือดแดงส่วนปลาย
- แผลในผู้มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น
- ผู้เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ หรือมีอายุสูงมาก
- ผู้เป็นโรคตับแข็ง ติดสุราเรื้อรัง ผู้ที่ไม่มีม้าม หรือถูกตัดม้าม
- ผู้ใช้ยากดภูมิต้านทานโรค เช่น สเตียรอยด์
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่โรคยังไม่สงบ
แผลสดที่ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ
- แผลฉีกขาดธรรมดา ที่เป็นแผลขอบเรียบ ทำความสะอาดง่าย ความยาวไม่เกิน 5 เซ็นติเมตร
- ไม่ปนเปื้อนสิ่งที่มีแบคทีเรียมาก เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำสกปรก เศษอาหาร
- เป็นแผลลักษณะขีดข่วน หรือครูดถลอก จากอุบัติเหตุหรือสัตว์กัด
- ไม่มีสิ่งสกปรก เช่น เศษดินที่แผล หรือมีแต่ล้างออกง่าย
- เป็นบาดแผลในผู้มีภูมิต้านทานโรคปกติ
- ตำแหน่งของบาดแผลไม่ได้อยู่ที่ขาหรือเท้า
- เป็นบาดแผลที่ยังไม่มีลักษณะของการติดเชื้อ
ทั้งนี้ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด แล้วใส่สารระงับเชื้อ (antiseptic) เช่น โพวิโดนไอโอดีน ไม่แนะนำให้โรยหรือทาแผลสดด้วยยาปฏิชีวนะเพราะอาจทำให้แพ้ยาและกระตุ้นให้เชื้อดื้อยา
ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3rpjpOd และ https://bit.ly/3r7EkFc