Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เลือกหนังสือให้ลูกน้อย


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

27-09-2022 11:55

แนวทางเล็กๆ น้อยๆ แบบไม่มีกฎตายตัว ให้คุณพ่อคุณแม่นำไปปรับใช้เพื่อเลือกหนังสือให้ลูก

ภาพประกอบเคส

แนวทางเล็กๆ น้อยๆ แบบไม่มีกฎตายตัว ให้คุณพ่อคุณแม่นำไปปรับใช้เพื่อเลือกหนังสือให้ลูก ดังนี้

  • หนูน้อยแรกเกิด : แม้ยังอ่านหนังสือไม่ออก แต่ตาเขามองเห็น หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้จึงเป็นหนังสือภาพ หนังสือภาพก็คือของเล่นสี่เหลี่ยม เปิดปิดได้ มีภาพอยู่ข้างในยิ่งถ้าเปิดมาเจอภาพที่เด็กรู้จัก เช่น สุนัข แมว รถยนต์ ผลไม้ ฯลฯ เด็กจะยิ่งสนใจเป็นพิเศษ จะให้ดีควรเป็นภาพเสมือนจริง และไม่ควรมีฉากหลังที่รกรุงรัง

  • หนูน้อยอายุได้ 2 ปี : แต่ละคนเริ่มมีความชอบที่แตกต่างกัน พ่อแม่ควรเลือกตามความสนใจของเด็ก ไม่ควรบังคับให้เด็กอ่านหนังสือที่เราอยากให้อ่าน เพราะหนังสือเหล่านี้ไม่ใช่หนังสือเรียน หนังสือที่ลูกชอบจะทำให้ลูกมีความสุขกว่าการถูกบังคับ วัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีประสาทหูที่ดีมาก จะจดจำเสียงต่างๆ หรือดนตรีได้ดี การอ่านหนังสือที่เป็นกลอน บทกวีมีจังหวะจะโคน จะทำให้เด็กสามารถจดจำได้

  • หนูน้อยย่างเข้าสู่ปีที่ 3 : หนูน้อยมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีอย่างน่าทึ่ง อยากรู้อยากเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจและติดตามเรื่องเล่าง่ายๆ ได้ เด็กวัยนี้ไม่รู้จักเบื่อ หนังสือเล่มไหน หรือนิทานเรื่องไหนที่ชอบ มักจะขอให้อ่านให้ฟังซ้ำๆ ถ้าเด็กชอบและสนใจหนังสือในวัยนี้ จะไม่ห่างหนังสือไปตลอดชีวิต

  • หนูน้อยอายุ 4 ปี : วัยนี้ความชอบของเด็กจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน เป็นวัยของการสร้างพื้นฐานจินตนาการ หนังสือที่มีภาพจะช่วยให้เด็กสามารถจินตนาการต่อเติมได้ง่าย

  • สำหรับวัย 5 ปี : จะชอบอ่านหนังสือที่มีเรื่องราวมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือนิทานให้ลูกมากจนอ่านไม่ทัน เพราะเด็กในวัยนี้ยังชอบฟังนิทานเรื่องเดิมซ้ำๆ

  • เด็กวัย 6 ปี : สามารถฟังนิทานที่เป็นตอนๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่ลองเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นตอนๆ ลูกจะสนใจและตั้งใจรอฟังตอนต่อไปในวันรุ่งขึ้น นิทานสำหรับเด็กวัยนี้ ควรเป็นนิทานที่เสริมสร้างจินตนาการและสนุก ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับการอ่านให้เด็กฟัง เมื่อเด็กสามารถอ่านหนังสือได้เองเด็กจะกลับมาอ่านเรื่องที่เคยฟังซ้ำอีก

การอ่านหนังสืออาจจะไม่เห็นผลในทันทีทันใด แต่การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่เล็กนั้นถือเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับลูก ทั้งยังเป็นสื่อกลางในการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกด้วย

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://www.thaihealth.or.th/?p=230089


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท