Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ส่งเสริมพัฒนาการสมวัยด้วยการลดดูจอ


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-03-2022 09:53

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกับทุกกลุ่มทุกวัย แม้แต่เด็กโดยเฉพาะกลุ่มปฐมวัยช่วงอายุ 0-5 ปี ที่คุณพ่อคุณแม่บางท่านจำเป็นต้องให้เด็กอยู่ตามลำพัง และปล่อยให้ลูกหลานดูโทรทัศน์หรือเล่นมือถือโดยไม่มีผู้ปกครอง คอยให้คำแนะนำ หรือไม่จัดสรรให้เป็นเวลา อาจส่งผลให้เด็กก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเอง และขาดระเบียบวินัยได้

ภาพประกอบเคส

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกับทุกกลุ่มทุกวัย แม้แต่เด็กโดยเฉพาะกลุ่มปฐมวัยช่วงอายุ 0-5 ปี ที่คุณพ่อคุณแม่บางท่านจำเป็นต้องให้เด็กอยู่ตามลำพัง และปล่อยให้ลูกหลานดูโทรทัศน์หรือเล่นมือถือโดยไม่มีผู้ปกครอง คอยให้คำแนะนำ หรือไม่จัดสรรให้เป็นเวลา อาจส่งผลให้เด็กก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเอง และขาดระเบียบวินัยได้

ผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กที่เกิดจากการใช้เวลาหน้าจอของเด็ก และความไม่พร้อมด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1) ด้านสถานที่ บางครอบครัวต้องพาเด็กออกไปทำงานด้วย ซึ่งที่ทำงานบางสถานที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก เช่น งานเก็บขยะ งานตัดต้นไม้ งานก่อสร้างเป็นต้น หรือบางครอบครัวต้องทิ้งเด็กเล็กไว้ตามลำพัง
2) ด้านโภชนาการ หากเด็กอยู่ศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนจะได้กินอาหารครบ 5 หมู่และดื่มนมตรงตามเวลา แต่เมื่อเด็กต้องอยู่บ้าน บางครั้งอาจกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ครบหมู่ หรือกินข้าวได้น้อยลง เพราะต้องกินอาหารเมนูเดิมซ้ำ ๆ มีส่วนทำให้เด็กได้รับสารอาหาร ไม่ครบถ้วนเช่นกัน
3) ด้านพัฒนาการของเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองบางรายมักให้เด็กอยู่ในห้องแคบ ๆ ใช้เวลาไปกับการดูโทรทัศน์หรือเล่นมือถือมากขึ้นโดยไม่สนใจบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ส่งผลให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวเอาแต่ใจตัวเอง และขาดระเบียบวินัย

การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ในยุคโควิด-19 พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรฝึกการเล่นกับลูกเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการในหลาย ๆ รูปแบบ โดย

  • การศึกษาผ่านคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถเข้าดูได้จากเว็บไซต์ของสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย
  • ผู้ปกครองสามารถปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการลูกได้ที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศ
  • คอยกำชับและดูแลเด็กเล็กให้หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือที่มากจนเกินไป
  • จัดสรรเวลาอยู่และเล่นกับลูกให้มากขึ้น

ที่มา : ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://multimedia.anamai.moph.go.th/anamai-toons/child-addicted-to-phone/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท