Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เครียดจากการทำงาน ยิ่งเครียด..ยิ่งแย่


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

27-09-2022 11:13

การทำงานให้คุณประโยชน์กับชีวิตคนเรามาก เช่น ช่วยสร้างรายได้ ทำให้มีเงินใช้จ่ายในครอบครัว ทำให้ให้พัฒนาตัวเอง ทำให้มีเป้าหมายในชีวิต มีสังคมมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการทำงานก็มีผลทางลบต่อคนเราด้วย

ภาพประกอบเคส

การทำงานให้คุณประโยชน์กับชีวิตคนเรามาก เช่น ช่วยสร้างรายได้ ทำให้มีเงินใช้จ่ายในครอบครัว ทำให้ให้พัฒนาตัวเอง ทำให้มีเป้าหมายในชีวิต มีสังคมมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการทำงานก็มีผลทางลบต่อคนเราด้วย

สาเหตุ

  • คาดหวังสูง ต้องการความสมบูรณ์แบบ
  • มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน
  • องค์กรไม่มีความเป็นธรรม
  • ถูกใช้งานหนักเกินไป

สัญญาณเตือน

  • ระบายออกแบบไม่รู้ตัว (ช๊อปปิ้งกระจาย สูบบุหรี่มากกว่าปกติ)
  • หงุดหงิด อะไรก็ขวางหูขวางตาไปหมด
  • กินข้าวได้น้อย
  • นอนหลับไม่สนิท อ่อนเพลีย ป่วยง่าย
  • โทรมลงอย่างชัดเจน (ใต้ขอบตาคล้ำ ใบหน้าไม่สดใส)
  • รู้สึกหมดไฟในการทำงานและเริ่มซึม

อาการ

  • ด้านร่างกาย : หน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน แผลในกระเพาะอาหาร
  • ด้านจิตใจและอารมณ์ : เบื่อหน่าย มองโลกแง่ร้าย ใจลอย ขาดสมาธิ วิตกกังวล ไม่เชื่อมั่นในตนเอง หากตกอยู่ในภาวะเครียดนานๆ อาจก่อให้เกิดอาการทางจิต ซึมเศร้า รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากทำงาน อยากลาออก และอาจถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย
  • ด้านพฤติกรรม : พฤติกรรมการแสดงออกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

วิธีรักษา เพื่อสร้างสุข

  • ฝึกมองโลกในแง่ดี พยายามมองเห็นคุณค่าของตนเอง
  • ปรับเปลี่ยนความคิด เปิดใจกว้าง มองรอบด้าน ลดอคติ และทิฐิ
  • สร้างความเข้มแข็งทางใจ
    อึด – ควบคุมอารมณ์ อดทนตั้งสติ เตรียมรับมือกับปัญหา
    ฮึด – สร้างกำลังใจ มองทุกปัญหามีทางออก
    สู้ – ลุกขึ้นเผชิญหน้า หาแนวทาง วางเป้าหมาย เร่งแก้ไขโดยใช้วิธีที่เหมาะสม
  • สร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่องค์กรสร้างสุข เน้นการมีส่วนร่วม ยอมรับความคิดเห็น
  • หาหลักพักใจในการดำเนินชีวิต ค้นหาพลังใจ อิงหลักคิดในการดำเนินชีวิต เช่น การให้อภัย เพื่อใช้เป็นพลังฟื้นฟูใจ
  • พึงพอใจในสิ่งที่มี ลดความคาดหวังลงทั้งจากตนเองและผู้อื่น

หากไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ โดยแพทย์จะให้คำปรึกษาเพื่อปรับทัศนคติ แต่หากอาการรุนแรงอาจใช้ยาร่วมด้วย

ที่มา : ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ (ศอช.)
https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/causes-and-management-of-stress-at-work/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท