Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

LGBTIQN เมื่อนิยามยุคใหม่ ไปไกลกว่าแค่ชายกับหญิง


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

27-09-2022 10:53

ปัจจุบันประเด็นเรื่องเพศที่เรารับรู้นั้น แตกต่างออกไปมากเมื่อเทียบกับอดีต การรับรู้ ความเข้าใจ มุมมอง และทัศนคติต่อเพศ กลายเป็นพลวัตซึ่งขับเคลื่อนผันเปลี่ยนตลอดเวลา ตามองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ความหมายของคำว่า “เพศ” ในยุคสมัยใหม่ จึงซับซ้อนและไปไกลกว่านิยามบนหน้าหนังสือเรียนสุขศึกษาในอดีต และที่สำคัญไม่ได้แบ่งมนุษย์เป็นแค่ ชาย กับ หญิง

ภาพประกอบเคส

ปัจจุบันประเด็นเรื่องเพศที่เรารับรู้นั้น แตกต่างออกไปมากเมื่อเทียบกับอดีต การรับรู้ ความเข้าใจ มุมมอง และทัศนคติต่อเพศ กลายเป็นพลวัตซึ่งขับเคลื่อนผันเปลี่ยนตลอดเวลา ตามองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ความหมายของคำว่า “เพศ” ในยุคสมัยใหม่ จึงซับซ้อนและไปไกลกว่านิยามบนหน้าหนังสือเรียนสุขศึกษาในอดีต และที่สำคัญไม่ได้แบ่งมนุษย์เป็นแค่ ชาย กับ หญิง

LGBTIQN หนึ่งคำศัพท์ยอดนิยมที่ถูกเอ่ยถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงหลายปีผ่านมาที่ใช้เรียกแทนกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ แม้ตัวอักษรทั้ง 6 นี้จะไปปรากฏตัวอยู่แทบทุกหนแห่ง ตามป้ายโฆษณา หนัง/ละคร หรือช่องทางสื่อสารมากมาย แต่หลายคนก็อาจยังไม่ทราบความหมายแต่ละของตัวอักษร

LGBTIQN สื่อถึงบุคคลผู้นิยามตนเองตามกลุ่มอัตลักษณ์ทางเพศต่าง ๆ ดังต่อไป

  • L (Lesbian) ผู้หญิงที่มีรสนิยมทางเพศชื่นชอบผู้หญิง
  • G (Gay) บุคคลที่ชื่นชอบในผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับตนเอง โดยในบริบทสังคมไทยมักเข้าใจว่า Gay หมายถึงผู้ชายที่มีรสนิยมทางเพศชื่นชอบผู้ชาย
  • B (Bisexual) บุคคลที่มาสนิยมทางเพศชื่นชอบทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามกับตัวเอง
  • T (Transgender) บุคคลที่แสดงอัตลักษณ์ทางเพศ ตรงข้าม หรือต่างออกไปจากเพศโดยกำเนิดของตนเอง
  • I (Intersex) บุคคลที่มีสรีระทางเพศ หรือรูปแบบโครโมโซมที่ไม่ตรงกับลักษณะของชายหรือหญิง หรือออาจมีลักษณะของทั้งชายและหญิง
  • Q (Queer) คำศัพท์ที่บุคคล (ส่วนมากมักเป็นคนรุ่นใหม่) ใช้อธิบายอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองที่สื่อถึงการปฏิเสธกฎ เกณฑ์ หรือกรอบต่างๆ ที่เข้ามากำหนดเกี่ยวกับเรื่องเพศ
  • Non – Binary เป็นคำศัพท์ที่บุคคลใช้อธิบายอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ว่าอยู่นอกเหนือการจัดหมวดหมู่เรื่องเพศ ที่มีแค่ชายหรือหญิง และยังเป็นศัพท์ที่ใช้ทลายการจัดระเบียบบุคคลผู้ทีความหลากหลายทางเพศ ว่าต้องดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับค่านิยมชายหรือหญิงเท่านั้น

ทั้งนี้ในแวดวงบทสนทนาหรือการถกเถียงเรื่องเพศ นอกจาก LGBTIQN แล้ว ยังมีเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศอีกมากมายที่ถูกพูดถึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น Asexual ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ปราศจากแรงดึงดูด หรือ แรงปรารถนาทางเพศ หรือ Pansexual อันหมายถึง ผู้ที่มีแรงดึงดูดกับบุคคลทุกรูปแบบโดยไม่คำนึงถึงเพศสภาพ

ที่มา : thevisual By thaipbs
https://thevisual.thaipbs.or.th/gender-on-screen/lgbtiqn-keyword/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท