Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

แม่ท้องต้องรู้ โฟลิกป้องกันโรคหลอดประสาทไม่ปิด


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-03-2022 09:40

โรคหลอดประสาทไม่ปิด เป็นความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรง เกิดจากความบกพร่องของการปิดของหลอดประสาทที่ปลายด้านบนหรือล่างในสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการตั้งครรภ์ และมีโอกาสเกิดได้กับประชากรทั่วโลก ในทวีปยุโรปมีความชุกประมาณ 1 ราย ต่อการเกิด 1,000 ราย

ภาพประกอบเคส

แม่ท้องต้องรู้ โฟลิกป้องกันโรคหลอดประสาทไม่ปิด โรคหลอดประสาทไม่ปิด เป็นความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรง เกิดจากความบกพร่องของการปิดของหลอดประสาทที่ปลายด้านบนหรือล่างในสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการตั้งครรภ์ และมีโอกาสเกิดได้กับประชากรทั่วโลก ในทวีปยุโรปมีความชุกประมาณ 1 ราย ต่อการเกิด 1,000 ราย

มีงานวิจัยทางการแพทย์รับรองว่า การเสริมโฟลิก ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก จะช่วยลดการเกิด โรคหลอดประสาทไม่ปิดในทารกได้มากถึง 72%

ดังนั้นการให้โฟลิกเสริมกับผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกจึงมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งยังหารับประทานได้ง่ายและราคาไม่แพง โดยแนะนำให้รับประทานโฟลิกวันละ 0.4 มิลลิกรัม อย่างน้อย 30 วันก่อนตั้งครรภ์และในไตรมาสแรก

ผู้หญิงกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด โรคหลอดประสาทไม่ปิดในเด็กทารก ได้แก่

  • เคยมีลูกเป็นโรคหลอดประสาทไม่ปิด
  • พ่อของลูกเป็น Spina bifida
  • ญาติพี่น้องใกล้ชิด เป็นโรคหลอดประสาทไม่ปิด
  • ใช้ยากันชัก (Anticonvulsants): Valproic acid หรือ Carbamazepine
  • เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
  • โรคอ้วน (ดัชนีมวลกาย > 35 kg/m2)
  • ใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านโฟลิก (Metrotrexate, sulfonamide เป็นต้น)
  • กลุ่มอาการดูดซึมอาหารได้น้อย (Malabsorption syndromes) เช่น ผู้ที่เคยผ่าตัดลำไส้ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เคยผ่าตัดรักษาโรคอ้วน

ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงควรรับประทานโฟลิกวันละ 4 มิลลิกรัมอย่างน้อย 30 วันก่อนตั้งครรภ์ และในไตรมาสแรก โดยการรับประทานโฟลิกวันละ 0.4 มิลลิกรัม เป็นเวลานานเป็นปีนั้นไม่มีอันตรายใดๆ ต่อสุขภาพ แม้ในประเทศที่มีการเสริมสารอาหารที่จำเป็นลงในอาหาร

ทั้งนี้ประโยชน์ของการรับประทานโฟลิกเสริมไม่เพียงแต่ลดความเสี่ยงของ โรคหลอดประสาทไม่ปิด แต่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ปากแหว่ง เพดานโหว่ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย การคลอดก่อนกำหนด และ Autism ได้อีกด้วย

ที่มา : รักลูก
https://www.rakluke.com/community-of-the-experts/pregnancy-must-know/item/neural-tube-defects.html


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท