Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วิธีช่วยเหลือเมื่อลูกมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

20-09-2022 15:07

ภาวะพูดช้าในเด็ก หมายถึง เด็กอายุ 2 ขวบยังไม่เริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมาย หรือเด็กอายุ 18 เดือนยังไม่พูดเป็นคำที่มีความหมายร่วมกับยังไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆได้ พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2 – 3 เท่า

ภาพประกอบเคส

ภาวะพูดช้าในเด็ก หมายถึง เด็กอายุ 2 ขวบยังไม่เริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมาย หรือเด็กอายุ 18 เดือนยังไม่พูดเป็นคำที่มีความหมายร่วมกับยังไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆได้ พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2 – 3 เท่า

สาเหตุของพัฒนาการภาษาล่าช้าหรือภาวะพูดช้า มีหลายปัจจัย เช่น

  • ปัจจัยภายใน ได้แก่ การได้ยินผิดปกติ ภาวะสติปัญญาบกพร่อง/ปัญญาอ่อน ออทิสติก
  • ปัจจัยภายนอก ได้แก่ พัฒนาการทางภาษาผิดปกติ ขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม ปัญหาการเลี้ยงดูจากบิดามารดา หรือคนใกล้ชิด ไม่สามารถดูแลได้ดีพอ
  • ปัญหาทางด้านโภชนาการ

พ่อแม่ หรือผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือลูกเมื่อมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า ได้ดังนี้

  • ปิดและลดการใช้สื่อหน้าจอต่าง ๆ แม้ว่าจะเปิดทิ้งไว้โดยที่เด็กไม่ได้ดูก็ตาม
  • ให้เวลาในการพูดคุย เล่น และทำกิจกรรมต่าง ๆ กับลูกมากขึ้น เช่น อ่านหนังสือนิทาน ร้องเพลงและทำท่าประกอบ สอนคำศัพท์ และพากย์สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ฝึกพูด ด้วยการนำสิ่งที่เด็กต้องการมาใกล้ปากของผู้เลี้ยงดู และพูดบอกคำศัพท์กับเด็กช้า ๆ อย่างชัดเจน และกระตุ้นให้เด็กมองหน้า สบตา และมองปากของผู้เลี้ยงดูระหว่างกำลังพูด
  • หากเด็กพูดได้บ้าง ควรเพิ่มคำศัพท์ให้ยาวขึ้นทีละน้อย เช่น เมื่อพูดคำว่า “บอล” ได้ ก็พูดกับเด็กให้ยาวขึ้นเป็น “เตะบอล” “โยนบอล” เป็นต้น
  • กระตุ้นให้เด็กพูดบอกความต้องการง่าย ๆ เช่น ให้ออกเสียงบอกก่อน จึงทำให้ตามที่ร้องขอโดยไม่ทำให้เด็กหงุดหงิด
  • ควรพาเด็กมาประเมินกับกุมารแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

การเลี้ยงดูลูกให้มีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาตามวัยจะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการปกติ แต่อย่างไรก็ตามควรสังเกตพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด เมื่อพบว่าลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้า ควรพบแพทย์เพื่อประเมินปัญหาและให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว การได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างถูกต้องและรวดเร็วตั้งแต่เริ่มแรกเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของการรักษา

ที่มา : สาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3qNIaTW


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท