Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เยาวชน LGBTQ กับความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพจิต


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

20-09-2022 14:01

เรามักได้ยินคนพูดว่า ชอบอยู่กับเพื่อนกะเทย กะเทยตลกดี เรียกเสียงหัวเราะได้ ทั้งที่คนที่แสดงออกว่าเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวตลก หรือต้องตลกเพื่อให้อยู่ในสังคมได้ หรือการเหมารวมอื่นๆ เช่น คิดว่าทอมดี้ทุกคนชอบความรุนแรง

ภาพประกอบเคส

เรามักได้ยินคนพูดว่า ชอบอยู่กับเพื่อนกะเทย กะเทยตลกดี เรียกเสียงหัวเราะได้ ทั้งที่คนที่แสดงออกว่าเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวตลก หรือต้องตลกเพื่อให้อยู่ในสังคมได้ หรือการเหมารวมอื่นๆ เช่น คิดว่าทอมดี้ทุกคนชอบความรุนแรง

กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ก็เป็นเหมือนคนทั่วไป มีบุคลิกภาพที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันมีการยอมรับในเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศมากมาย แต่สังคมเปิดกว้างให้การยอมรับและเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศแล้วหรือไม่

เยาวชนกลุ่มหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ ที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จะต้องต่อสู้กับความสับสนภายในตัวเอง ว่าแท้จริงแล้วเรามีอัตลักษณ์ทางเพศแบบไหนกันแน่ พ่อแม่และเพื่อนจะยอมรับได้หรือไม่ที่เรามีรสนิยมทางเพศแบบนี้ จะรังเกียจเราหรือไม่ พวกเขายังต้องรับมือจากการปฏิบัติจากสังคมอันจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของเยาวชนคนนั้น ซึ่ง การสำรวจของ Trevor Project พบว่า

  • 1 ใน 3 ของเยาวชน LGBTQ ถูกคุกคามหรือถูกทำร้ายเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศ
  • จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 40,000 คน พบว่า 46% ของกลุ่มตัวอย่างต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ฃ
  • ครึ่งหนึ่งของเยาวชน LGBTQ เคยพยายามฆ่าตัวตาย
  • 68% ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการของโรควิตกกังวล
  • 55 % เป็นโรคซึมเศร้า

นอกจากนี้ยังพบว่าเยาวชน LGBTQ ถูกไล่ออกหรือหนีออกจากบ้านเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศ และยังมีปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง เมื่อเยาวชน LGBTQ มากกว่า 40% ไม่กล้าไปพบจิตแพทย์ เพราะต้องขออนุญาตจากผู้ปกครอง ซึ่งในประเทศไทย มีการยื่นขอแก้กฎหมายเพื่อเพื่อนที่มีอาการซึมเศร้า (ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เยาวชนผู้ยื่นขอแก้กฎหมาย) เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 21 วรรค 3 กำหนดว่า กรณีผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ต้องให้ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอม ซึ่งจากการร่วมประชุมเรื่องการให้บริการของจิตแพทย์กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีกับกรมสุขภาพจิต ได้ข้อสรุปว่า

“คำว่า “ผู้ป่วย” ในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต หมายถึง บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งควรได้รับการบำบัดรักษา ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว เยาวชนที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์สามารถเข้าพบจิตแพทย์ได้โดยไม่ต้องให้ผู้ปกครองพาไป เมื่อเด็กเข้าพบจิตแพทย์แล้ว จะได้รับการบริการให้คำปรึกษา การดูแลเบื้องต้นและสามารถตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ ซึ่งคุณหมอจะประเมินในส่วนของภาวะอันตรายและเร่งด่วนในการบำบัดรักษา โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กและเก็บรักษาความลับของคนไข้เป็นสำคัญ หากจะแจ้งผู้ปกครองจะต้องแจ้งเยาวชนก่อน”

ที่มา : เลิฟแคร์สเตชั่น โดยมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ภายใต้การสนับสนุนของยูนิเซฟ ประเทศไทย
https://bit.ly/3DHjmnU


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท