Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำความรู้จักกับ "I" ใน LGBTQI


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

20-09-2022 13:53

หากพูดถึงสัญลักษณ์ LGBTQ เราคงจะพอรู้กันบ้างแล้วว่า ตัวอักษรแต่ละตัวนั้นมีความหมายอย่างไร แต่วันนี้เราจะมาแนะนำตัวอักษรอีกตัว ที่พอเห็นแล้วอาจจะมีงงๆ ว่ายังมีตัวอักษรอีกหรือ นั่นก็คือ I หรือ Intersex นั่นเอง

ภาพประกอบเคส

หากพูดถึงสัญลักษณ์ LGBTQ เราคงจะพอรู้กันบ้างแล้วว่า ตัวอักษรแต่ละตัวนั้นมีความหมายอย่างไร แต่วันนี้เราจะมาแนะนำตัวอักษรอีกตัว ที่พอเห็นแล้วอาจจะมีงงๆ ว่ายังมีตัวอักษรอีกหรือ นั่นก็คือ I หรือ Intersex นั่นเอง

Intersex หมายถึง คนที่เกิดมามีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากปกติ จนไม่สามารถระบุเพศชัดเจนได้ โดยมีทั้งการเกิดมามีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ ปริมาณฮอร์โมนหรือโครโมโซมเพศที่ผิดปกติ หรือแม้กระทั่งลักษณะด้านอื่นๆ ที่ค่อยๆ ปรากฏเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์

การเป็นอินเตอร์เซ็กส์มักจะหมายถึงลักษณะทางกายภาพ ไม่ได้หมายถึงเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศ ซึ่งชาวอินเตอร์เซ็กส์ก็สามารถมีได้หลากหลายเช่นบุคคลทั่วไปได้

ปัญหาสิทธิมนุษยชนที่อินเตอร์เซ็กส์ต้องเจอ

ความพยายามที่จะทำให้เด็กอินเตอร์เซ็กส์เป็นคน “ปกติ” ด้วยการดัดแปลงทางการแพทย์เพื่อให้พวกเขากลายเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงตั้งแต่ตอนที่พวกเขายังเด็กมาก เช่น การผ่าตัดอวัยวะเพศเพื่อเสริมความงามหรือให้ตรงตามจารีตของสังคม การผ่าอวัยวะสืบพันธุ์ภายในออก การผ่าตัดเพื่อใส่ช่องคลอด หรือกระทั่งการตัดแต่งองคชาติให้มีรูปลักษณ์เหมือนปกติ ซึ่งการดัดแปลงที่ล่วงเกินและส่งผลทั้งชีวิตเหล่านี้มักจะถูกกระทำตั้งแต่ก่อนที่เด็กจะตัดสินใจได้เอง

โดยปกติการดัดแปลงเหล่านี้จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง แต่ข้อมูลที่ผู้ปกครองได้รับก่อนการตัดสินใจนั้นมักจะขาดความน่าเชื่อถือ เพราะการดัดแปลงเหล่านี้มักจะมีผลกระทบทางสุขภาพระยะยาว รวมไปถึงการต้องรับประทานยาปรับฮอร์โมนตลอดชีวิต แต่ความจริงแล้วการดัดแปลงเหล่านี้ควรจะเด็กคนนั้นโตขึ้นมาตัดสินใจด้วยตัวเอง

เป้าหมายที่กลุ่มอินเตอร์เซ็กส์มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

  • การยุติการการดัดแปลงทางการแพทย์ทั้งหมดที่ไม่จำเป็นต่อสุขภาพของเด็ก
  • การให้ความรู้ประชาชนเพื่อทำลายอคติต่ออินเตอร์เซ็กส์
  • การให้ความช่วยเหลือทางจิตวิทยาสำหรับครอบครัว เพื่อให้เด็กๆ ที่เป็นอินเตอร์เซ็กส์ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกกีดกัน

สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนผ่านไปสู่โครงสร้างทางสังคมและจิตวิทยาแบบใหม่ เพราะคนที่ต้องเปลี่ยนแปลงไม่ใช่คนที่เกิดมาเป็นอินเตอร์เซ็กส์ แต่เป็นสังคมที่พยายามจะบังคับให้พวกเขาเป็นตามมโนภาพของสังคม การเป็นอินเตอร์เซ็กส์หรือไม่นั้นไม่ได้มีความสำคัญอะไร เพราะเด็กทุกคนสมควรที่จะได้อยู่ในสังคมที่ทุกคนเคารพในสิทธิมนุษยชนของพวกเขา

ที่มา : บทสัมภาษณ์จาก คิตตี้ แอนเดอสัน นักรณรงค์สิทธิอินเตอร์เซ็กส์ บทความโดย Smiling Sun เนื้อหาดัดแปลงจาก Amnesty International Australia
https://bit.ly/3Dvhzm5


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท