Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

17-09-2022 16:33

โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม เป็นความผิดปกติทางจิตที่แสดงออกถึงความประพฤติผิดปกติที่แตกต่างจากคนทั่วไป

ภาพประกอบเคส

โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม เป็นความผิดปกติทางจิตที่แสดงออกถึงความประพฤติผิดปกติที่แตกต่างจากคนทั่วไป

สาเหตุหลักๆ เกี่ยวข้องกับปัจจัยสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปมักเข้าใจว่าคนที่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมจะชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวและปลีกตัวออกจากคนอื่น ไม่พูดไม่เจรจาหรือพบปะคบค้าสมาคมกับใคร รวมถึงไม่ต้องการทำตามข้อกำหนดหรือกติกาทางสังคมใดๆ แต่อันที่จริงแล้วพฤติกรรมต่อต้านสังคมนี้ เป็นกลุ่มอาการทางจิตที่มีลักษณะร่วมกันคือ การแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ และต่อเนื่อง

โดยปราศจากการตระหนักรู้ผิดชอบชั่วดี ขาดความเคารพและเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น ไม่เคยรู้สึกเสียใจต่อการกระทำที่ขัดแย้งกับความคาดหวังและบรรทัดฐานที่ดีงามของสังคมส่วนรวม จนกลายเป็นบุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัยประจำตัวไปโดยไม่รู้ตัว

สามารถพิจารณาตามลักษณะการแสดงออกได้โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ ยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง หุนหันพลันแล่นด้วยการยึดเอาแต่ใจตัวเอง โกหกหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆ

อาการที่พบบ่อย

อาจแสดงอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก เช่น

  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รวมถึงสัตว์
  • ทำลายข้าวของ ลักขโมย ไม่ซื่อสัตย์ หรือละเมิดกฎระเบียบ
  • ทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่ขาดความสำนึกผิดชอบ และขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น อาการเหล่านี้มักมีปัญหาทางพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเมื่ออายุมากขึ้นจนนำไปสู่พฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย

สาเหตุ

  • ความผิดปกติทางสมองและสารสื่อประสาท
  • มีสมาชิกในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม
  • การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก เช่น การถูกละเมิด ทำร้ายร่างกายทอดทิ้ง ความรุนแรงในครอบครัว
  • สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น โรงเรียน เพื่อน

คำแนะนำจากแพทย์

การป้องกันโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม เริ่มต้นจากการเลี้ยงดูบุตรหลานตั้งแต่วัยเด็กอย่างเหมาะสมโดยผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงทางอารมณ์ มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และฝึกการควบคุมตนเองรวมถึงเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมเมื่อโตขึ้น

ที่มา :
- อ. นพ.เมธีวัชร์ ชิตเดชะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย https://bit.ly/3qtW9xV
- ผู้จัดการออนไลน์ โดย ดร.แพง ชินพงศ์ https://bit.ly/3Qu5VL7


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท