Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

กินเห็ดป่าช่วงหน้าฝน ไม่ระวังเสี่ยงเจอเห็ดพิษ


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

17-09-2022 16:22

ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะเป็นฤดูกาลเก็บเห็ดป่า เช่น เห็ดเผาะ เห็ดโคน เห็ดระโงก เห็ดตับเต่า เห็ดไค เป็นต้น เห็ดเป็นอาหารประเภทผักที่มีพลังงานต่ำ แต่อุดมด้วยโปรตีน ใยอาหาร โปตัสเซียม และวิตามินต่าง ๆ

ภาพประกอบเคส

ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะเป็นฤดูกาลเก็บเห็ดป่า เช่น เห็ดเผาะ เห็ดโคน เห็ดระโงก เห็ดตับเต่า เห็ดไค เป็นต้น เห็ดเป็นอาหารประเภทผักที่มีพลังงานต่ำ แต่อุดมด้วยโปรตีน ใยอาหาร โปตัสเซียม และวิตามินต่าง ๆ

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระลดอาการอักเสบของร่างกาย เพราะมีวิตามินบีและดีสูง
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากโรคบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัลไซเมอร์ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และความดันโลหิตสูง
  • นำมาทำอาหารได้หลากหลาย เช่น ยำเห็ดสามอย่าง แกงเลียงเห็ด แกงอ่อมเห็ด ต้มยำเห็ด เป็นต้น ก่อนนำเห็ดมาปรุงประกอบอาหารต้องล้างน้ำให้สะอาดหลาย ๆ ครั้ง ปรุงให้สุกร้อนก่อนกินทุกครั้งด้วย

อย่างไรก็ตามมักมีรายงานว่า พบชาวบ้านมีอาการแพ้และเจ็บป่วยจากการกินเห็ดพิษเข้าไปเป็นประจำ จึงควรหลีกเลี่ยงการเก็บ ซื้อ กินเห็ดที่ไม่รู้จัก โดย

  • ไม่ควรเก็บเห็ดที่ขึ้นใกล้โรงงานสารเคมีหรือเห็ดที่ขึ้นในบริเวณพื้นที่ที่ทำการเกษตรโดยใช้สารเคมี เนื่องจากเห็ดสามารถดูดซับสารพิษได้ดี
  • ไม่ควรเก็บเห็ดชนิดใดที่ไม่แน่ใจว่ากินได้หรือไม่ ให้เลือกกินเฉพาะเห็ดที่รู้จักและคุ้นเคย จะปลอดภัย
  • ห้ามกินเห็ดดิบ ๆ โดยเด็ดขาด

ลักษณะเห็ดพิษที่พอสังเกตได้ คือ มีสีสัน หากกินเห็ดเข้าไปแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยให้เตรียมน้ำอุ่นผสมผงถ่าน activated charcoal แล้วดื่ม 2 แก้ว ซึ่งแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียก่อน แล้วจึงดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนออกมาอีกครั้ง ไม่ควรใช้ไข่ขาวดิบจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยท้องเสียเพิ่ม หรือติดเชื้อได้ จากนั้นให้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งประวัติ การกินเห็ดโดยละเอียด พร้อมนำตัวอย่างหรือภาพถ่ายเห็ดไปด้วย เพื่อรับการรักษาได้อย่างถูกวิธี


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท