Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

สร้างเกราะภูมิคุ้มกัน 3 ชั้น ป้องกันไข้เลือดออกในเด็ก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

17-09-2022 16:08

ด้วยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้นประเทศไทย ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี บวกกับมีฝนตกและมีความเสี่ยงสูงขึ้นทำให้เกิดแหล่งน้ำขังได้ในหลายพื้นที่ ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมาก และเจริญเติบโตได้ดี โอกาสที่จะแพร่ระบาดก็เพิ่มมากขึ้น

ภาพประกอบเคส

ด้วยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้นประเทศไทย ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี บวกกับมีฝนตกและมีความเสี่ยงสูงขึ้นทำให้เกิดแหล่งน้ำขังได้ในหลายพื้นที่ ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมาก และเจริญเติบโตได้ดี โอกาสที่จะแพร่ระบาดก็เพิ่มมากขึ้น ไข้เลือดแกพบมากในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10-14 ปี ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี

การสร้างเกราะภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคไข้เลือดออก สามารถทำได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 1 คือ การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เช่น สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทายากันยุง ติดมุ้งลวด นอนในมุ้ง
  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปิดฝาอุปกรณ์เก็บกักน้ำ เช่น โอ่ง ไม่ให้ยุงลายวางไข่
  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 คือ การไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

เกราะคุ้มกันเสริม แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปี จนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี ที่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้วเท่านั้น

ที่มา : กรมการแพทย์ โดย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/178332/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท