โรงเรียนพื้นที่ปลอดภัย สำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ
หมวดหมู่หลัก: LGBTQ
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
17-09-2022 15:00
สถานศึกษา เปรียบเสมือนอากาศรอบตัวคนตั้งแต่เล็กจนโต เป็นสถานที่ที่รวมความแตกต่างของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู บุคลากรในสถานศึกษา รวมไปถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในหนังสือเรียน ซึ่งหากหากสถานศึกษาปฏิเสธที่จะโอบรับความแตกต่าง พื้นที่นี้อาจไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยของผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นแน่
สถานศึกษา เปรียบเสมือนอากาศรอบตัวคนตั้งแต่เล็กจนโต เป็นสถานที่ที่รวมความแตกต่างของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู บุคลากรในสถานศึกษา รวมไปถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในหนังสือเรียน ซึ่งหากหากสถานศึกษาปฏิเสธที่จะโอบรับความแตกต่าง พื้นที่นี้อาจไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยของผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นแน่
บทสัมภาษณ์หนึ่งของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ The101.world ระบุว่าสังคมไทยเหมือนจะยอมรับและรู้ว่าความหลากหลายทางเพศคืออะไร แต่ยังต้องทำความเข้าใจว่าคนที่มี อัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายเป็นอย่างไร และยังขาดสิทธิอะไรบ้าง
ภายในโรงเรียน อคติและความไม่เข้าใจเป็นสิ่งที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องพบเจอ เช่น การถูกเพื่อนล้อ การแต่งกายที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิด ทางบ้านยังไม่เปิดรับ และตัวนักเรียนไม่มั่นใจว่าหากแสดงตัวตนออกมาจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่
การแต่งกายเป็นหนึ่งในปัญหาความไม่เท่าเทียมของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจ ไม่เป็นตัวเอง สร้างความรู้สึกว่ายังไม่ได้สู้ในสิทธิของตนเองอย่างเต็มที่ ดังนั้นภายในโรงเรียนที่มีเด็กที่เป็น LGBTQ มักจะเข้าหาครูที่เป็น LGBTQ เช่นเดียวกัน เพราะเขาต้องการใครสักคนที่ซัปพอร์ตในสิ่งที่เขาเป็นและรู้สึกปลอดภัย
นอกจากนี้ในบทเรียนที่เกี่ยวกับเพศศึกษา มีเนื้อหาที่กล่าวถึงวิธีการแก้ปัญหาสำหรับบุคคลที่เบี่ยงเบนทางเพศ การใช้คำที่ตีตรา ซึ่งแท้จริงแล้วคุณครูผู้สอนต้องพยายามทำความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ ใช้ความรู้ใหม่ๆ หลีกเลี่ยงการตอกย้ำผ่านเนื้อหากับนักเรียน เพราะเมื่อเด็กได้รับเนื้อหาแบบนี้ ก็จะถูกปลูกฝังความคิดเช่นนี้ไปเรื่อยๆ พยายามสร้างความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศและวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างเคารพ
บทสุดท้ายของการสัมภาษณ์ ได้สรุปไว้ว่า LGBTQ ไม่ได้ต้องการอะไรพิเศษหรือนอกเหนือไปจากคนทั่วไป พวกเขาแค่ต้องการสิทธิการสมรสเท่าเทียม การใช้คำนำหน้านาม สิทธิในเรือนร่างและการแต่งกาย และการสามารถดำรงชีวิตและทำงานได้เหมือนคนอื่นโดยมีอัตลักษณ์ทางเพศแบบที่เราเลือก สิ่งสำคัญคือความเข้าใจและการปฏิบัติที่ไม่ได้แตกต่างจากคนอื่น เพศอื่น แค่นั้นเอง
ที่มา : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ผลงานของความร่วมมือระหว่าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ The101.world
https://bit.ly/3TSggDk