Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

LGBTQ+ กับความเสี่ยงโรคซึมเศร้า


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

17-09-2022 14:54

การไม่เข้าใจว่า ตนเองเป็นคนข้ามเพศ หรือเป็น LGBTQ+ หรือไม่ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในสังคมไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน จากการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบปัญหาโรคซึมเศร้าในสตรีข้ามเพศ 22 % ชายข้ามเพศ 14 % ซึ่งค่อนข้างมากกว่าในคนทั่วไป โดยเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ครอบครัว สังคม และการได้รับการยอมรับ เช่น ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน

ภาพประกอบเคส

การไม่เข้าใจว่า ตนเองเป็นคนข้ามเพศ หรือเป็น LGBTQ+ หรือไม่ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในสังคมไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน จากการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบปัญหาโรคซึมเศร้าในสตรีข้ามเพศ 22 % ชายข้ามเพศ 14 % ซึ่งค่อนข้างมากกว่าในคนทั่วไป โดยเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ครอบครัว สังคม และการได้รับการยอมรับ เช่น ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน

หน่วยงาน หรือองค์กรหลายแห่ง ไม่ได้เปิดรับกลุ่มคนข้ามเพศมากนัก โดยไม่ได้เทคแคร์เช่นเดียวกับบุคคลปกติ ซึ่งแท้จริงแล้วการเป็นบุคคลข้ามเพศไม่ได้ผิดปกติ แต่เป็นความหลากหลายทางเพศเท่านั้น ซึ่งสังคมต้องเปลี่ยนความเชื่อและเปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้แสดงศักยภาพ ซึ่งจะทำให้มีความสุขกับทุกฝ่าย

จากสภาวะแวดล้อมที่กดดัน ถูกกลั่นแกล้ง ล้อเลียนเรื่องเพศ ไปจนถึงการถูกทำร้ายร่างกาย ส่งผลให้กลุ่ม LGBTQ+ เกิดความกดดัน เครียด และซึมเศร้า หลายคนหาทางออกด้วยการเสพความสุข เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ซึ่งทั้งหมดอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมเรื้อรังต่อไปในอนาคต หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

อย่างไรก็ตาม ภาวะซึมเศร้าของกลุ่มเพศทางเลือกที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่ปัญหาของคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นปัญหาสำคัญอันสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของคนในสังคม ที่ไม่เปิดใจและยอมรับในความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันความซับซ้อนทางเพศถือว่าเป็นเรื่องปกติ หากสังคม ครอบครัว มีความเข้าใจ เปิดใจ และยอมรับเรื่องเพศมากขึ้น จะถือได้ว่าเป็นทิศทางที่ดีสำหรับการยอมรับในตัวตนของผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างของคนในสังคม

ที่มา :
- ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ นพ.อัมรินทร์ สุวรรณ อาจารย์สาขาเวชศาสตร์ทางเพศและวัยหมดระดู ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย thaipbs https://bit.ly/3RQfvtj
- ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดย PPTVOnline https://bit.ly/3U3H3Nh


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท