Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เมื่อลูก พูดไม่เพราะ


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: สุขภาพใจ

09-09-2022 09:59

การพูดจาไพเราะส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานครอบครัว การที่พ่อแม่แสดงคำพูดต่อลูก รวมทั้งเวลาพ่อแม่พูดกันนั้นเป็นคำพูดที่มีความไพเราะก็จะเป็นบทเรียนที่เด็กรับรู้และเลียนแบบ รวมถึงน้ำเสียงหรือคำพูดบางอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจ เด็กสามารถจับน้ำเสียงหรือคำเหล่านี้ได้ เขาก็อาจจะพูดตาม นอกจากนั้นเด็กอาจจะได้ยินคำพูดบางอย่างจากเพื่อน จากที่โรงเรียนหรือจากสื่อต่างๆที่เด็กได้ยินจากคนรอบข้าง เด็กอาจจะเลียนแบบโดยไม่ตั้งใจได้

ภาพประกอบเคส

การพูดจาไพเราะส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานครอบครัว การที่พ่อแม่แสดงคำพูดต่อลูก รวมทั้งเวลาพ่อแม่พูดกันนั้นเป็นคำพูดที่มีความไพเราะก็จะเป็นบทเรียนที่เด็กรับรู้และเลียนแบบ รวมถึงน้ำเสียงหรือคำพูดบางอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจ เด็กสามารถจับน้ำเสียงหรือคำเหล่านี้ได้ เขาก็อาจจะพูดตาม นอกจากนั้นเด็กอาจจะได้ยินคำพูดบางอย่างจากเพื่อน จากที่โรงเรียนหรือจากสื่อต่างๆที่เด็กได้ยินจากคนรอบข้าง เด็กอาจจะเลียนแบบโดยไม่ตั้งใจได้

วิธีรับมือเมื่อลูก พูดไม่เพราะ

  1. พูดกับลูกอย่างไพเราะ รวมทั้งพูดกับคนอื่นๆในบ้านด้วย โดยฝึกตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กเล็กๆ เพื่อที่จะทำให้เขารู้สึกคุ้นเคยกับการพูดที่ไพเราะ แต่ถ้าเด็กเริ่มโตขึ้น เด็กก็อาจจะได้ยินคำพูดจากคนอื่นนอกบ้านมากขึ้น ก็อาจจะเกิดการเลียนแบบซึ่งเกิดขึ้นได้ง่าย
  2. การฝึกขึ้นอยู่กับแบบอย่างที่เด็กได้เห็น เรื่องของแบบอย่างเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องทำให้เด็กได้เห็น ให้เขาได้รู้ว่าเวลาที่เขาพูดอย่างนี้เรามีความพอใจ
  3. แนะนำเรื่องคำพูดบางคำที่เหมาะกับสถานการณ์ เด็กอาจไม่รู้จักการเลือกคำใหม่ๆที่เหมาะสมกว่า
  4. ในกรณีที่เด็กพูดแทรก ส่งเสียงดังเพราะอยากได้ความสนใจจากพ่อแม่ อย่าตำหนิต่อว่าเขารุนแรง ควรแสดงความสนใจช่วงสั้นๆ แล้วหันกลับมา เพราะว่าที่จริงแล้วเขาเพียงแต่อยากให้เราหันไปสนใจ

ที่มา : สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
https://rajanukul.go.th/iqeq/index.php?mode=know&group_id=0&id=326


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท