Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

สุขภาพผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

09-09-2022 09:27

วัยสูงอายุ วัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง กล้ามเนื้อ สายตาก็แย่ลง เพราะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และนอกจากทางร่างกายแล้ว เรื่องของจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ทำให้การออกนอกบ้าน การแต่งตัว ตื่นนอน หรือเข้าห้องน้ำลำบาก อีกทั้งสามารถหกล้มได้ง่าย ดังนั้นหากใครมีบุคคลในครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ ควรใส่ใจและดูแลให้ถูกต้อง ตามหลักของการดูแลผู้สูงอายุ

ภาพประกอบเคส

วัยสูงอายุ วัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง กล้ามเนื้อ สายตาก็แย่ลง เพราะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และนอกจากทางร่างกายแล้ว เรื่องของจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ทำให้การออกนอกบ้าน การแต่งตัว ตื่นนอน หรือเข้าห้องน้ำลำบาก อีกทั้งสามารถหกล้มได้ง่าย ดังนั้นหากใครมีบุคคลในครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ ควรใส่ใจและดูแลให้ถูกต้อง ตามหลักของการดูแลผู้สูงอายุ

หลัก 5 อ. ดูแลผู้สูงวัย ให้สุขภาพดี อายุยืน

  1. อาหาร รับประทานอาหารให้หลากหลาย ได้สัดส่วนเพียงพออิ่ม ครบ 5 หมู่ เน้นย่อยง่ายและสะอาด อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น อาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  2. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทุกส่วนสัด กระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้สูงอายุควรเคลื่อนไหวออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม มีหลากหลายวิธี เช่น ยืดเส้นยืดสาย ยืดเหยียด ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เดินเร็ว ขี่จักรยาน เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยง การแข่งขัน ออกแรงเกินกำลัง ความเร็วสูง เกร็ง เบ่ง ยกน้ำหนัก การอยู่ในสถานที่ร้อนอบอ้าว อากาศไม่ถ่ายเท อยู่กลางแดดจ้า
  3. อารมณ์ อารมณ์รื่นเริงยินดี ชีวิตสดใสด้วยรอยยิ้ม จิตแจ่มใส มองโลกในแง่บวก ไม่เครียด ช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่ลูกหลาน คนรอบข้าง
  4. อดิเรก สร้างสรรค์งานอดิเรก เพิ่มพูนคุณค่า เกื้อกูลสังคม หากิจกรรมงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ฟังธรรม พบปะสังสรรค์ ให้คำปรึกษาแนะนำฟังเพลง ปลูกต้นไม้
  5. อนามัย สร้างอนามัยดี ชีวีมีสุข นำพาอายุยืนยาว สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี หมั่นตรวจและรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน งด ละ เลิกอบายมุข บุหรี่ เหล้า ของมึนเมา และสารเสพติด

นอกจากนี้แล้ว ควรระมัดระวังอุบัติเหตุไม่ให้เกิดกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการล้ม เพราะในวัยผู้สูงอายุ การทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก การมองเห็นจะเสื่อมถอยลง อาจทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ง่าย ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านเรือนให้ปลอดภัย มีแสงสว่างเหมาะสมไม่วางของเกะกะ พื้นไม่ลื่น หรือควรมีราวจับในบริเวณที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้บ่อย ๆ เช่น ห้องน้ำ บันได เป็นต้น

ที่มา : กรมกิจการผู้สูง
https://www.dop.go.th/th/know/15/444


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท