Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ซน สมาธิสั้น ต้นตอสู่ปัญหาการเข้าสังคม


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

31-08-2022 11:12

โรคซน สมาธิสั้น เป็นโรคที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากปกติ เด็กเล็ก ๆ จะมีพฤติกรรมซน สมาธิสั้นและหุนหันพลันแล่น ยังควบคุมตัวเองไม่ได้ตามวัย เนื่องจากพัฒนาการของสมองส่วนการควบคุมตนเองยังพัฒนาไม่มาก เมื่อค่อยๆ เติบโตขึ้น เด็กจะมีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่วัยเรียน แต่ถ้ายังไม่สามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้เหมือนเด็กในวัยเดียวกัน ก็จะเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม

ภาพประกอบเคส

โรคซน สมาธิสั้น เป็นโรคที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากปกติ เด็กเล็ก ๆ จะมีพฤติกรรมซน สมาธิสั้นและหุนหันพลันแล่น ยังควบคุมตัวเองไม่ได้ตามวัย เนื่องจากพัฒนาการของสมองส่วนการควบคุมตนเองยังพัฒนาไม่มาก เมื่อค่อยๆ เติบโตขึ้น เด็กจะมีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่วัยเรียน แต่ถ้ายังไม่สามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้เหมือนเด็กในวัยเดียวกัน ก็จะเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม

พฤติกรรมของเด็กอาจมีปัญหามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสภาพแวดล้อม ซึ่งเด็กมักไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคก่อนอายุ 5 ปีนอกจากจะมีปัญหาอย่างรุนแรงชัดเจน

อาการที่บอกว่าลูกมีภาวะ ซน สมาธิสั้น หรือ ADHD

  • ซนมาก เล่นแรง อยู่นิ่งไม่ได้
  • สมาธิสั้น ไม่มีสมาธิกับการเล่นของสิ่งเดียว เปลี่ยนความสนใจง่าย มีสมาธิน้อยในการเล่นหรือการเรียน
  • หุนหันพลันแล่น ยับยั้งชั่งใจไม่ค่อยได้ เมื่ออยากได้หรืออยากทำอะไรมักจะทำทันทีไม่รู้จักการรอคอย

ผู้ปกครองควรทำอย่างไร

  • การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ควรมีสถานที่ให้เด็กสามารถวิ่งเล่นได้อย่างอิสระและมีความปลอดภัย
  • ผู้ปกครองควรมีเวลาในการทำกิจกรรมกับเด็ก เพื่อจะได้สังเกตพฤติกรรมและความสนใจเด็กได้อย่างใกล้ชิด
  • ลดหรือหลีกเลี่ยงการดุด่าว่ากล่าวโดยไม่จำเป็น เพราะเด็กจะเคยชินและไม่ฟังการห้ามหรือที่ถูกดุ ควรแก้ที่สาเหตุ เพราะเด็กที่ซนมาก มักต้องมีอะไรทำอยู่เสมอ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการตีเด็ก เพราะเมื่อเด็กถูกตีประจำ อาจเลียนแบบความรุนแรงเมื่อโกรธหรือหงุดหงิด
  • ควรพยายามมองหาข้อดีและให้คำชมเชยตามโอกาส เด็กที่ซนมักชอบช่วยทำสิ่งต่างๆ แต่ผู้ปกครองมักไม่อยากให้ทำ เพราะกลัวจะทำเสียหาย ควรให้โอกาสเด็กช่วยทำเท่าที่พอทำได้ และมีผู้ใหญ่คอยกำกับดูแล และให้คำชมเชย หากได้รับการชมเชยอยู่ประจำ ก็จะมีความพยายามที่จะค่อยๆ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม แต่ต้องไม่ชมลอย ๆ

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
https://bit.ly/3QZrHHF


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท